วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความเชื่อศาสนาพราหมณ์ในสังคมเขมร

ศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดศาสนาหนึ่งของโลกที่กำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาหลัก โดยมีเทพประจำศาสนาสามพระองค์ คือพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ เรียกว่า “ตรีมูรติ”ศาสนานี้ได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศเขมรก่อนศาสนาอื่นๆตั้งแต่ยุคเริ่มแรกและอยู่ควบคู่กับประวัติศาสตร์มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชนทุกชนชั้นในประเทศนี้มาเป็นจนถึงปัจจุบัน ศาสนิก ผู้นับถือศาสนานี้มีความเชื่อหลายอย่าง เช่นต้องสร้างศาสนาสถาน ปราสาท ศิวลึงค์ และอื่นๆ เพื่ออุทิศถวายแด่เทพเจ้าที่ตนเคารพนับถือ โดยเชื่อว่าการสร้างปราสาท หรือศาสนาสถานขึ้น เปรียบเสมือนได้ทำบุญกุศล ถ้าหากสร้างปราสาทยิ่งสูง ยิ่งทำให้ผู้สร้างยิ่งใกล้ชิตกับเทพที่ตนเคารพสักการะมากยิ่งขึ้น จึงมีการสร้างบนภูเขา เนินที่สูง หรือสร้างหลายชั้น และเมื่อตนเองเสียชีวิตไปแล้ว จะไปอยู่ในปราสาท หรือศาสนสถานที่ตนสร้างไว้ด้วย จึงทำให้มีการสร้างปราสาทและศาสนสถานขนาดใหญ่และสูงขึ้นเรื่อยมาจึงมีการสร้างสิ่งเหลานั้นมากมายทั่วประเทศ พระมหากษัตริย์บางพระองค์ได้สร้างปราสาทมากกว่าหนึ่งหลัง เพื่ออุทิศให้บิดามารดาบุพการีชน และผู้ที่ตนเคารพนับถือด้วย นอกจากนี้ ตามที่เห็นในจารึกต่างๆ พระมหากษัตริย์เขมรตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา จะมีคำต่อท้ายพระนามว่า “วรมัน” เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง เกราะ เสื้อเกราะ เช่น ชัยวรมัน สุริยวรมัน เป็นต้น การที่พระมหากษัตริย์นำคำนี้มาใช้ท้ายพระนามของพระองค์ คงเป็นเพราะสมัยก่อนพระองค์ต้องนำทัพออกรบ ทำศึกสงครามกับศัตรูทั่วทุกสารทิศเพื่อปกป้องอาณาเขต หรือขยายดินแดนของตนเป็นประจำ จึงต้องมีเกราะป้องกันตัว โดยเชื่อว่าคำ “วรมัน” ต่อท้ายพระนามของพระองค์ เปรียบเสมือนมีเสื้อเกราะปกป้องพระองค์จากภยันตรายต่างๆ ในสมรภูมิ สนามรบเหล่านั้นได้ การนับถือศาสนาพราหมณ์ได้รับความนิยมมากขึ้นจนถูกบัญญัติให้เป็นศาสนาประจำชาติเขมรเมื่อศตวรรษที่ 12 ใน รัชสมัยพระบาทสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัดที่เป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ส่วนในชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ประชาชนทั่วไป ที่นับถือปฏิบัติตามศาสนานี้เหมือนกัน มีประเพณี ความเชื่อ และการปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นของพราหมณ์ เช่น ประเพณีงานศพ ดูดวง พิธีกรรมเกี่ยวกับชะตาราศีและอื่นๆ  
             ในพุทธศตวรรษที่ 3 พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศกัมพูชา ทำให้ประเทศนี้นับถือสองศาสนา คือศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ แต่ถึงแม้ว่าพุทธศาสนาได้เข้ามาก็ตาม ศาสนาพราหมณ์ที่เป็นศาสนาเก่าแก่ยังฝั่งรากลงลึกในความคิด ความเชื่อ ความนิยม เคารพนับถือจากทุกชนชั้นเหมือนเดิม ต่างจากพุทธศาสนาที่มีตกต่ำในบางยุค และเจริญรุ่งเรืองในบางยุค เช่น พุทธศาสนามหายานที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระบาทชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์เขมร ผู้สร้างเมืองพระนครธม และปราสาทอื่นๆ อีกมากมายเพื่ออุทิศถวายบิดามารดา บุตร และบุคคลอื่นๆ ตามความเชื่อทางพุทธศาสนามหายาน ถึงแม้ว่าพระองค์นับถือพุทธศาสนามหายาน ส่งเสริมศาสนานี้มากแค่ไหนก็ตาม แต่พระองค์ก็ไม่ได้ถอดทิ้งศาสนาพราหมณ์ให้อยู่โดดเดี่ยว เนื่องด้วยพุทธศาสนามหายานและศาสนาพราหมณ์มีข้อปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดมากมัก ทำให้ทั้งสองศาสนาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อย่างที่เห็นตรงประตูเข้าเมืองพระนครธม ที่มีการแกะสลักหน้าพรหม เรื่องเกษียรสมุทรที่มีเทพและอสูรดึงพญานาคคนละข้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวของพราหมณ์ แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของทั้งสองศาสนา ทำให้ประเทศเขมรเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์
          แต่หลังจากยุคของพระมหากษัตริย์องค์นี้แล้ว สถานการณ์บ้านเมืองในประเทศเขมรเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง พระมหากษัตริย์ที่สืบทอดราชสมบัติต่อมาได้เปลี่ยนมานับถือพราหมณ์และต่อต้านพุทธศาสนาที่เคยนับถือและอยู่ด้วยกันมาเป็นเวลานาน จนมีการเปลี่ยนแปล และทำลายปราสาทที่สร้างเพื่ออุทิศให้พุทธศาสนาด้วย เป็นเหตุก่อให้เกิดปัญหาภายในขึ้น ยุคสมัยรุ่งเรืองของอาณาจักรเขมรค่อยๆ เสื่อมลง ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรตกอยู่ในความยากลำบาก ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านถือโอกาสบุกยึด โจมตีหลายครั้งจนทำให้เมืองพระนครได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก การสร้างปราสาทเพื่ออุทิศถวายเทพเจ้าต่างๆ เริ่มน้อยลง และยุติในรัชสมัยของพระบาทชัยวรมันที่ 9 (ค.ศ 1327 – 1336) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของเขมรที่มีชื่อในศิลาจารึก หลังจาก ค.ศ.1336 เป็นต้นมา ประเทศเขมรได้เข้าสู่ยุคใหม่ หลักฐานต่างๆ ต้องอาศัยเอกสารจากพงศาวดารที่เป็น “ใบลาน” แทนศิลาจารึก พระมหากษัตริย์องค์ใหม่ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา มีการพูดถึงที่มาของพระองค์แตกต่างกันออกไป บางก็บอกว่าพระมหากษัตริย์องค์นี้เป็นสามัญชน มีอาชีพเป็นคนปลูกแตงกวา ไม่ทราบชื่อจริง แต่ด้วยเป็นคนปลูกแตงกวามีรสหวานกว่าคนอื่น จึงเรียกว่า “ตาแตงกวาหวาน” หรือเรียกตามภาษาเขมรว่า “ตา ตรอซ็อก พแอม” วันหนึ่ง ตาแตงกวาหวาน หรือ “ตา ตรอซ็อก พแอม” ได้นำแตงกวาที่ตนปลูกเข้าถวายพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงโปรดรสชาติแตงกวาดังกล่าวเป็นอย่างมาก จึงตรัสสั่งให้ตาแตงกวาหวานดูแลแตงกวาให้ดี ห้ามขายให้คนอื่น ต้องนำมาถวายพระองค์เท่านั้น พระองค์ได้มอบหอกให้เพื่อใช้เป็นอาวุธปกป้องไร่แตงกวาดังกล่าว พระองค์อยากรู้ว่า ตาแตงกวาหวานได้ดูแลไร่แตงกวานั้นจริงไหม คืนหนึ่งพระองค์แอบออกจากราชวังเพื่อไปทอดพระเนตรให้แน่ชัด แต่ด้วยเป็นตอนกลางคืน มืดมองไม่ชัด ตาแตงกวาหวานไม่รู้ว่าคนที่แอบลักลอบเข้ามานั้นเป็นพระมหากษัตริย์ นึกว่าเป็นโจรผู้ร้ายมาขโมยแตงกวาของตน จึงโยนหอกไปถูกพระมหากษัตริย์จนสิ้นพระชนม์ พวกข้าราชบริวารที่ทราบเรื่องดังกล่าว แทนทีเอาโทษตาแตงกวาหวานที่ปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กลับเห็นวิชาการปกกันตัว ความซื่อสัตย์ของเขา จึงแต่งตั้งให้เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศต่อไป อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลอีกด้านหนึ่งบอกว่า เรื่องดังกล่าวเป็นแค่เรื่องนิทานเท่านั้น ซึ่งเรื่องจริงเป็นอย่างไร คงต้องศึกษาต่อไป แต่ที่น่าสังเกตคือในรัชสมัยของพระมหากษัตริย์องค์นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จาก ค.ศ. 1336 เป็นต้นมา ไม่มีการสร้างปราสาทเพื่ออุทิศให้เทพเจ้าของพราหมณ์อีกต่อไป เป็นการสิ้นสุดลัทธิเทวราชในประเทศเขมร โดยหันมานับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ มีการสร้างวัดวาอารามมากขึ้น ภาษาบาลีถูกนำมาใช้แทนภาษาสันสกฤตที่ใช้ในศาสนาพราหมณ์ และที่สำคัญกว่านั้น คือพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์จากนั้นเป็นต้นมา ไม่มีคำว่า “วรมัน” ที่พระมหากษัตริย์เขมรนำมาใช้ต่อท้ายพระนามของของพระองค์เหมือนสมัยก่อนอีก และสังคมเขมรได้เข้าสู่สังคมพุทธศาสนาเถรวาทเรื่อยมา

(Writer : Sut Sorin)

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วันชาติเขมร

         ประเทศเขมร มีวันชาติที่เปลี่ยนมาหลายครั้งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและระบอบปกครอง โดยวันชาติเหล่านั้น มีดังนี้
        1). วันที่ 6 พฤษภาคม ประกาศให้เป็นวันชาติเขมร ตาม พ.ร.บ ลงวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1948 (2491) หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1947 (2490) ซึ่งเป็นเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นราชอาณาจักรโดยใน ค.ศ. 1946 (2489) ประเทศกัมพูชามีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยมีพรรคการเมืองแรกคือ "พรรคประชาธิไตย" ชนะการเลือกตั้ง
         2). วันที่ 9 พฤศจิกายน เป็นวันชาติ หลังเขมรได้เอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1953 (2496)
        3). วันที่ 18 มีนาคม เป็นวันชาติในระบอบสาธารณรัฐเขมร หลังจากการโค่นล้มระบอบราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1970 (2513)
        4). วันที่ 17 เมษายน เป็นวันชาติ ในระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) หลังการโค่นล้มระบอบสาธารณรัฐเขมร เมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 (2518)
        5). วันที่ 7 มกราคม เป็นวันชาติ ในระบอบสาธาณรัฐประชาชนกัมพูชา และระบอบรัฐกัมพูชา (สังคมนินยม) หลังจากโค่นล้มระบบกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1975 (2531)
        6). วันที่ 9 พฤศจิกายน เป็นวันชาติ หลังจากเขมรเปลี่ยนมาเป็นระบอบราชาณาจักร ตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1993 (2536) จนถึงทุกวันนี้
           เห็นได้ว่า วันชาติเขมรจะเปลี่ยนตามระบบการปกครองมาโดยตลอด ใครยึดอำนาจจากใครได้ก็เปลี่ยนวันชาติตามที่ตนเองต้องการ และจากวันชาติดังกล่าว ทำให้เห็นได้ด้วยว่าเขมรเคยปกครองมาหลายระบอบ ทั้งระบอบเทวราชา สมบูรณาญาสิทธิราช ราชอาณาจักร สาธารณรัฐ เผด็จการเต็มรูปแบบ สังคมนิยม แล้วก็กลับมาราชอาณาจักรอีก
           แต่ที่น่าสังเกตคือ เขมรในสองยุค คือยุคหลังได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส และยุคหลัง 1993 (2536) จะมีอะไรที่เหมือนกันเยอะ ไม้ว่าจะเป็นเพลงชาติ ธงชาติ และวันชาติ จนกษัตริย์สีหนุเรียกประเทศกัมพูชาหลัง ค.ศ. 1993 (2536) ว่า "ราชอาณาจักรที่ 2"


(Writer : Sut Sorin)

ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...