วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประวัติการศึกษาในประเทศกัมพูชา


           การศึกษาในประเทศกัมพูชามีอายุยาวนานเท่ากับอายุของประเทศนี้ ในยุคแรก เราไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่ามีลักษณะแบบใด เราเริ่มศึกษาจากหลักฐานที่เป็นศิลาจารึกตามปราสาทต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ในยุคพระนคร ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ฉะนั้น เราทำความเข้าใจคราวๆ เกี่ยวกับประวัติการศึกษาของเขมรตั้งแต่ยุคพระนครจนถึงยุคปัจจุบันกัน โดยจำแหนกตามยุคตามยุค ดังนี้
             1. ยุคพระนคร: ยุคพระนคร เริ่มจากปีคริสต์ศักราช 802 ถึง ปีคริสต์ศักราช 1431 เป็นยุคที่เขมรมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด การศึกษาในช่วงแรกของยุคนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเท่าใดนัก แต่ในช่วงกลางของยุคนี้ เราเห็นมีหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนคือมีจัดการเรียนการสอนในปราสาท อย่างที่เราเห็นหลายปราสาทจะมีห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บตำราและเอกสารที่ใช้ในการศึกษา โดยมีพราหมณ์บุโรหิตเป็นผู้สอน และผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นคนในวัง นอกจากนี้ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เรียนอยู่ในศาสนาสถาน โดยมีบรรพชิตเป็นผู้สอน วิชาที่สอนในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของศาสนา การทำศึกสงคราม การสู้รบ การปกครองความเชื่อ ไสยศาสตร์ ในยุคนี้ ปราสาทและศาสนสถานเป็นเขตอภัยทาน
              2. ยุคอาณานิคมฝรั่งเศส : ฝรั่งเศสได้ปกครองกัมพูชาเป็นเวลา 90 ปี (ค.ศ. 1863 – ค.ศ.1953) แต่ช่วงที่มีผลต่อการศึกษาของเขมรคือ ค.ศ. 1863-1945 โดยสถานศึกษาของเขมรในยุคนั้นแบ่งออกเป็น2 ประเภท คือสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยฝรั่งเศส เรียกว่าโรงเรียนฝรั่งเศส – เขมร หรือการศึกษาทางการ มีสอนวิชาต่างๆ เกี่ยวกับการคำนวณ วิทยาศาสตร์ และวิชาอื่นๆ ซึ่งเป็นวิชาของโลกตะวันตกโดยการศึกษาในโรงเรียนประเภทนี้ มีดังนี้ 1. โรงเรียนประจำตำบล 2. โรงเรียนประถมศึกษาชั้นแรก 3. โรงเรียนประถมศึกษาเพิ่มเติมวิชา 4. โรงเรียนประถมศึกษาชั้นสูงและมัธยมศึกษาฝรั่งเศส – ภาษาต่างประเทศ มีประถมศึกษาชั้นสูงด้านครุศาสตร์ และมัธยมศึกษาทุติยภูมิ 5.อุดมศึกษา 6. อาชีวศึกษา มีโรงเรียนเทคนิคและการอาชีพ โรงเรียนศิลปะเขมร 7. โรงเรียนเอกชน มี โรงเรียนเอกชนสอนภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนภาษาฝรั่งเศสและภาษาต่างประเทศ โรงเรียนภาษาถิ่น และโรงเรียนภาษาต่างประเทศ ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือ สถานศึกษาประเพณีปรับปรุงใหม่ (โรงเรียนวัด) เป็นสถานศึกษาตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากยุคก่อนๆ โรงเรียนประเภทนี้ มีการจัดตั้งโรงเรียนปฏิบัติ โรงเรียนปฏิบัติชั้นสูง และมีบุคลากรปฏิบัติงานการศึกษาประเพณีปรับปรุงใหม่
            ในปีค.ศ. 1935 มีครูผู้สอนเป็นคฤหัสถ์ส่วนหนึ่งได้เข้ามาทำงานในโรงเรียนประเพณีปรับปรุงใหม่ด้วย พร้อมกันนี้ พระมหากษัตริย์ ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้แทนพระองค์ 1 คนเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นศึกษานิเทศก์ในการตรวจสอบ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประเพณีปรับปรุงใหม่ (โรงเรียนวัด) และศึกษานิเทศก์คนดังกล่าวได้แต่งตั้งผู้ช่วยอีกหนึ่งคนเพื่อช่วยงาน
             กระทรวงศึกษาของเขมรในยุคนี้ บริหารโดยชาวฝรั่งเศสหนึ่งคน และผู้บริหารคนดังกล่าวต้องขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงชาวฝรั่งเศสอีกคน ส่วนการศึกษาต้องปฏิบัติตามคำสั่งจากผู้กำกับการศึกษาของรัฐอีกคนหนึ่งที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ส่วนในจังหวัดใหญ่ๆ ของเขมร มีชาวฝรั่งเศสหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นผู้กำกับโรงเรียนประถมศึกษา แต่ละปีผู้กำกับคนดังกล่าวจะเดินทางไปตรวจโรงเรียนฝรั่งเศส-เขมรระดับประถมชั้นต้นตามอำเภอต่างๆ ส่วนโรงเรียนประเพณีปรับปรุงใหม่ (โรงเรียนวัด) ผู้กำกับคนนี้จะไม่มีสิทธิไปตรวจสอบได้ เพราะว่า โรงเรียนเหล่านั้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้แทนพระมหากษัตริย์
             3. ยุคปี ค.ศ.1945 – 1975: เป็นยุคปลายๆ ของอาณานิคมฝรั่งเศสจนถึงยุคการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสาธารณรัฐเขมร (ค.ศ.1970-1975) โดยในปี ค.ศ. 1947 ได้จัดให้มีสำนักงานขึ้นมา 2 สำนักงาน คือ สำนักงานกำกับดูแลโรงเรียนของวัด และสำนักงานกำกับดูแลโรงเรียนฝรั่งเศส – เขมร จนถึงปี ค.ศ. 1949 สำนักงานทั้งสองได้รวมกันเป็นสำนักงานเดียว และปี ค.ศ. 1969 -1970 เป็นช่วงปลายๆ ของยุคสังคมราษฎรนินมของพระบาท นโรดม สีหนุ การศึกษาขั้นพื้นฐานของเขมรมี 13 ปี และที่แปลกคือ เขานับจากปีที่ 12 ลงมา เช่น ถ้าเราเริ่มเรียนปีแรก เขาเรียกว่า “ชั้นปีที่ 12” แล้วเรียงลงมาเรื่อยๆ การศึกษายุคนี้แบ่งเป็น ประถมศึกษา มี 6 ปี (ปีที่ 12 – ปีที่ 7) มัธยมศึกษาตอนต้น มี 4 ปี (ปีที่ 6- ปีที่ 3) และวิทยาลัย หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 3 ปี (ปีที่ 2 ปีที่ 1 และปีสุดท้าย)
             4. ยุคปี ค.ศ. 1979 – ปัจจุบัน :( สังเกตเห็นว่า ไม่มีข้อมูลจากปี ค.ศ. 1975 -979 เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่เขมรแดงปกครองประเทศ ทุกอย่างเท่ากับศูนย์) ยุคนี้การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ
                  4.1 ช่วงที่หนึ่ง:ค.ศ. 1979 – 1987 ยุคนี้ระบบการศึกษาความรู้ทั่วไป (การศึกษาขั้นพื้นฐาน) มีระยะเวลา 10 ปี โดยระดับประถมมี 4 ปี คือ ปีที่ 1-ปีที่ 4 มัธยมศึกษาตอนต้นมี 3 ปี คือปีที่ 5-ปีที่ 7 มัธยมศึกษาตอนปลายมี 3 ปี คือ ปีที่ 8-ปีที่ 10
                  4.2 ช่วงที่สอง: ค.ศ. 1987 – 1994 ยุคนี้ระบบการศึกษาความรู้ทั่วไป (การศึกษาขั้นพื้นฐาน) มีระยะเวลา 11 ปี โดยระดับประถมศึกษามี 5 ปี คือ ปีที่ 1-ปีที่ 5 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมี 3 ปี (ปีที่ 6-ปีที่ 8) และระดับวิทยาลัยหรือมัธยมศึกษาตอนปลายมี 3 ปีคือ ปีที่ 9-ปีที่ 11
               4.3 ช่วงที่สาม : ค.ศ.1994 – ปัจจุบัน ระบบการศึกษายุคนี้มีระยะเวลา 12 ปี (6+3+3)  ระดับประถมศึกษามี 6 ปีคือ ปีที่ 1-ปีที่ 6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมี 3 ปี คือ ปีที่ 7-ปีที่ 9 มัธยมศึกษาตอนปลายมี 3 ปี คือ ปีที่ 10- ปีที่ 12​​​ ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ ค.ศ.1994 กระทรวงศึกษาธิการเขมรได้จัดให้มีศึกษานิเทศก์ขึ้นเพื่อประเมินโรงเรียนต่างๆ ในประเทศ
                      เห็นได้ว่า การศึกษาของเขมรได้มีการปรับเปลี่ยนตามยุคตามสมัย ตามระบบการปกครอง ตามความต้องการของสังคมด้วยและตามความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลก 



(Writer : Sut Sorin)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...