วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สาเหตุโรงเรียนที่ประเทศกัมพูชาต้องเรียนสองช่วง

                  ระบบการศึกษาของประเทศกัมพูชา เป็นระบบ 6-3-3 เหมือนกับหลายประเทศในอาเซียน รัฐบาลของกัมพูชาให้ความสำคัญเกี่ยวกับจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยการเรียนการสอนระดับขั้นพื้นฐานในประเทศกัมพูชา เรียนสัปดาห์ละ 6 วัน คือวันจันท์ถึงวันเสาร์ มีวันหยุดวันเดียวคือวันอาทิตย์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ฉบับปรับปรุงค.ศ.2015) มาตรา 65 ระบุไว้ว่า “รัฐต้องปกป้อง และส่งเสริมให้พลเมืองได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ และต้องจัดมาตรการทุกอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้พลเมืองทุกคนได้เข้าถึงการศึกษานั้นรัฐต้องเอาใจใส่ด้านการศึกษาและการกีฬาเพื่อให้พลเมืองทุกคนมีสุขภาพที่ดี” ส่วน มาตรา 68 ระบุไว้ว่า “รัฐมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนของรัฐสำหรับพลเมืองทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พลเมืองต้องได้รับการศึกษาอย่างน้อยเก้าปีรัฐช่วยเผยแพร่และส่งเสริมโรงเรียนภาษาบาลีและการศึกษาด้านพุทธศาสนา”
              จากการระบุดังกล่าว เห็นว่ารัฐให้ความสำคัญและได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมหลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของชาติ โดยให้พลเมืองเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และต้องเรียนในการศึกษาภาคบังคับน้อย 9 ปี คือจบการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการทำงาน โดยมีการจัดการเรียนการสอนเป็นสองภาคเรียนคือภาคเรียนที่ 1 วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี และภาคเรียนที่ 2 วันที่ 20 เมษายน – วันที่ 30 กรกฎาคม ของทุกปี
               ถึงแม้ว่า รัฐได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษามากแค่ไหน แต่ปัญหาต่างๆ ยังคงมีอยู่ให้เห็น สำหรับผู้ที่เดินทางไปประเทศกัมพูชา จะเห็นว่าเด็กนักเรียนของประเทศกัมพูชาจะเรียนแค่ครึ่งวันไม่ว่าโรงเรียนนั้นอยู่ในเขตเมือง หรือเขตชนบท คือเรียนช่วงเช้า และช่วงบ่าย โดยนักเรียนที่เรียนสองช่วงนี้ เป็นนักเรียนคนละกลุ่มกัน คือนักเรียนที่เรียนช่วงเช้า จะไม่เรียนช่วงบ่าย ส่วนนักเรียนที่เรียนช่วงบ่าย จะไม่เรียนช่วงเช้า แต่นักเรียนทั้งสองกลุ่มนี้จะสลับช่วงเรียนกันเดือนละครั้งขึ้นอยู่กับการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษานั้นซึ่งแตกต่างประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนทั้งวัน จึงเกิดคำถามว่า ทำไมโรงเรียนที่ประเทศกัมพูชาจึงต้องจัดการเรียนการสอนเป็นช่วง สาเหตุที่โรงเรียนในประเทศกัมพูชาต้องสอนสองเวลาคือ
        1. ปัจจัยด้านงบประมาณและบุคลากร
 1.1 ปัจจัยด้านงบประมาณ  งบประมาณที่จ่ายเป็นเงินเดือนของข้าราชการครูและข้าราชการ
กระทรวงอื่นๆ ของกัมพูชาอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางเงินเดือนครูประถมประมาณ 540,000 เรียล หรือประมาณ 49,00 บาทไทย ครูมัธยมประมาณ 830,000 เรียล หรือประมาณ 7,500 บาทไทย และรัฐบาลจะเพิ่มให้ปีละ 20ขึ้นอยู่กับขั้นเงินเดือน ประสบการณ์การสอนและจำนวนบุตรในครอบครัว ซึ่งเงินเดือนที่เป็นค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าว ไม่สามารถทำให้อาชีพครู เป็นอาชีพที่คนส่วนมากอยากจะเป็น แต่เป็นอาชีพที่คนส่วนหนึ่งที่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่ามักไม่อยากเป็นครู หรือมาเป็นครูเพื่อมองโอกาสในการทำงานอย่างอื่น เช่นงานเอกชน เป็นต้นเพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าว รัฐจึงมีนโยบายให้ครูสอนอีกครึ่งวันพร้อมรับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม ถึงแม้ว่าไม่สามารถทำให้ความเป็นอยู่ของครูอยู่ในระดับที่ดี แต่ก็อยู่ในระดับที่พอรับได้ และครูอีกส่วนหนึ่งที่มีอาชีพเสริมอย่างอื่น สามารถไปงานนั้นได้หลังจากหมดเวลาทำงานแล้ว
   1.2   ปัจจัยด้านบุคลากร  เกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยด้านงบประมาณที่มีน้อย เป็นสาเหตุทำให้
บุคลากรทางการศึกษา หรือครูที่ปฏิบัติหน้าสอนในโรงเรียนต่างๆ มีจำนวนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในเขตชนบทที่บางโรงเรียนมีครูผู้สอนสองหรือสามคน นักศึกษาครูที่เพิ่งจบมาใหม่เคยใช้ชีวิตในเมืองไม่ที่มีความสะดวกสบายหลายอย่าง พวกเขาไม่ยากไปสอนในที่ทุรกันดาร และครูที่ไปสอน นอกจากอาชีพสอนหนังสือแล้วไม่มีอาชีพเสริมอื่นที่เป็นรายได้ในแต่ละวันแทนเงินเดือนได้ นอกจากเงินสวัสดิการ หรือเงินเบี้ยกันดารที่เพิ่มกับเงินเดือนประจำสำหรับผู้ที่เสียสละไปสอน ซึ่งเงินสวัสดิการเหล่านี้อาจไม่ได้เบิกเป็นรายเดือน บางครั้งเบิกเป็นรายภาคเรียน หรือเบิกเป็นรายปีการศึกษา ซึ่งไม่สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันได้กับการสอนของครูประถมศึกษา สัปดาห์ละ 24 ชั่วโมง และครูมัธยมศึกษา สัปดาห์ละ 19 ชั่วโมง การที่ได้สอนอีกครึ่งวันพร้อมกับการได้รับค่าตอบแทนอีกส่วนหนึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มได้รายและลดภาระการใช้จ่ายให้กับครูผู้สอนได้ไม่มากก็น้อย
          2. ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ อาคารเรียนในประเทศกัมพูชาถือว่ายังไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการทั้งในตัวเมืองและต่างอำเภอ หน่วยงานของรัฐพยายามสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และมีองค์กรนอกรัฐบาล เช่น Asia Development Bank (ADB), World Bank เป็นต้น และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและนอกประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมาตลอด แต่ด้วยความขาดแคลนที่มีมาก จึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจำเป็นต้องแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่เรียนภาเช้า และกลุ่มที่เรียนภาคบ่าย ถึงแม้ว่าการแบ่งเป็นกลุ่มสามารถลดปัญหาการขาดห้องเรียนได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในเขตชนบทหลายโรงเรียนยังมีปัญหาอยู่
         3. ปัจจัยด้านความเป็นอยู่ของผู้ปกครอง ผู้ปกครองนักเรียน โดยเฉพาะในต่างอำเภอหรือในเขตชนบท ส่วนมากยังมีความเป็นอยู่ปานกลางหรือลำบาก มีส่วนน้อยที่มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองมักอยากให้ลูกช่วยงานบ้านแทนตัวเองในบางเรื่อง เช่นถ้าในชนบท ผู้ปกครองให้ลูกช่วยดูแลบ้าน ทำงานบ้านรดน้ำผัก เลี้ยงสัตว์ ดูแลน้อง และอื่นๆ ส่วนผู้ปกครองที่อยู่ในเมืองส่วนมากมีอาชีพค้าขาย จะให้ลูกช่วยเปิดร้าน ดูแลร้านเฝ้าบ้าน หรือทำงานอื่นๆ แทนตัวเองเสมอ ฉะนั้น การที่โรงเรียนสอนแค่ครึ่งวัน การมีลูกอยู่บ้านช่วยงานต่างๆ ได้ครึ่งวันไม่ว่าช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายถือว่ายังดี สามารดช่วยงานและลดภาระของผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง
           จากปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จึงทำให้โรงเรียนต่างๆ ในประเทศกัมพูชาต้องเรียนอยู่สองช่วง เพื่อลดปัญหา และผลกระทบต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษา หวังว่า ปัญหาเหล่านั้นจะได้รับการแก้ไขที่ดีขึ้นจนสามารถทำให้การศึกษาของประเทศนี้มีความพร้อมในทุกด้านต่อไป

(Writer : Sut Sorin)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...