วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เขมรกับกัมพูชาเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

          ถึงแม้ว่าประเทศไทยกับกัมพูชา เป็นประเทศที่มีพื้นที่ติดกัน เคยมีประวัติในการติดต่อสื่อสาร ไปมาหากันเป็นเวลายาวนาน และมีประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และอื่นๆ ที่เหมือนกันบ้างและคล้ายกันบ้างก็ตาม แต่ก็ยังมีความเข้าใจบางเรื่องที่คลาดเคลื่อนอยู่ หนึ่งในนั้นคือการเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “เขมร และกัมพูชา” ยังคงเป็นคำที่มีคนจำนวนไม่น้อยสงสัยระหว่างคำนี้ว่า เป็นคำที่มีความหมายเดียวกันไหม เหมือนกันไหม ต่างกันไหม ถ้าเหมือนกัน แล้วเหมือนกันยังไง หรือถ้าต่างกัน แล้วต่างกันอย่างไร สำหรับหลายคนเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับความหมาย และอีกหลายคนยังเข้าใจไปอีกแบบที่แตกต่างกัน มีทั้งคิดและเข้าใจว่า เขมรกับกัมพูชา เป็นคนละประเทศ คนละภาษากัน ที่มากกว่านั้นยังเข้าใจว่า “เขมร” เป็นคำที่สื่อความหมายในทางที่ไม่ดี เป็นการดูถูกดูแคลน ไม่เหมาะสม เหยียดยาม ไม่ควรนำมาพูดและเข้าใจว่า “กัมพูชา” เป็นคำที่มีความหายดี ให้เกียรติ ยกย่อง เป็นต้น ซึ่งการเข้าใจเหล่านี้เป็นการเข้าใจส่วนตัว เพื่อให้รู้ว่าความหมายของสองคำนี้เป็นอย่างไร เรามาดูความหมาย เกี่ยวกับทั้งสองคำนี้ว่า มีความหมายอย่างไร เหมือนกันหรือแตกกันอย่างไรครับ
             1. เขมร:ออกเสียงตามภาษาเขมรคือ “ขะแมร์ หรือ คแมร์”เนื่องจากว่าในภาษาเขมร เมื่อ“ร” เป็นตัวสะกดจะไม่ออกเสียง เป็นภาษาอังกฤษคือ “Khmer” เป็นคำที่คนไทยส่วนหนึ่งเข้าใจว่าเป็นคำมีความหมายไม่ดี ไม่สุภาพ เป็นคำที่สื่อไปในทางดูถูก เหยียดยาม ไม่ให้เกียรติ ไม่ควรนำมาพูดกับคนเขมร เกรงว่าจะทำให้เขาเสียใจ เสียความรู้สึกหรืออื่นๆ ที่เข้าใจว่าไม่ดี การเข้าใจแบบนี้เป็นการเข้าใจส่วนตัว โดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง สำหรับคำว่า “เขมร” พจนานุกรมภาษาเขมร ได้ให้ความหมายว่า “เขมร มาจากคำว่า เขมระ หมายถึง ผู้ที่มีความเกษมสุข” ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา“ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2015” หมวด 1 เรื่องอธิปไตย มาตรา 5 ระบุไว้ว่า “ภาษา และอักษรที่ใช้เป็นทางการคือ ภาษาและอักษรเขมร” อีกอย่าง ตามเอกสารของคณะบุราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ของกัมพูชา ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.2016 เรื่อง “หลักฐานเกี่ยวกับคำว่า เขมร และกัมพูชา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน”ได้ระบุว่า “เขมรเป็นคำที่ค้นพบครั้งแรกในศิลาจารึกK.11 จารึกในศตวรรษที่ 7 คำนี้ใช้เรียกมนุษย์ ภาษา ชาติ ของเขมร เช่นมนุษย์เขมร คนเขมร ภาษาเขมร ชาติเขมร ส่วนประเทศ ดินแดน เรียกว่า “กัมพูชา” หรือ “เขมร” ก็ได้” สำหรับสัญชาติ และเชื่อชาติ ถึงแม้ว่าไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่บนบัตรประจำตัวประชาชนเขมร เขียนว่า “บัตรประจำตัวประชาชนเขมร Khmer Identity Card” นั้นก็หมายถึง สัญชาติ และเชื่อชาติ ก็เป็น “เขมร” เช่นกัน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อย่อของประเทศนี้ก็ใช้ตัวย่อ KH เช่น KHR (Khmer Riel) หมายถึงสกุลเงินของเขมร คือเงินเรียล โดย KH ย่อมาจากคำว่า “Khmer”นั้นเอง
            จากหลักฐาน และเอกสารอ้างอิงข้างต้น สรุปได้ว่า “เขมร” เป็นคำที่ใช้เรียก “คน ภาษา ชนชาติ สัญชาติ” ของคนที่อยู่ในประเทศกัมพูชา หรือเขมร คำนี้ไม่ได้มีความหมายหยาบคาย ดูถูกดูแคลน ไม่ให้เกียรติ หรือสื่อไปในทางที่ไม่ดีแต่อย่างใด แต่เป็นคำเก่าแก่ที่คนเขมรมีความภาคภูมิใจนิยมใช้มากที่สุด มากกว่าคำว่า “กัมพูชา”ด้วยซ้ำ
            2. กัมพูชา: กัมพูชา อ่านเป็นภาษาเขมรว่า “กัมปุเจีย” ภาษาอังกฤษคือ “Cambodia” เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อประเทศเขมร ตามชื่อทางการคือ “ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingdom of Cambodia” เป็นคำที่คนไทยส่วนหนึ่งเข้าใจว่าเป็นคำที่มีความหมายดี สุภาพ ให้เกียรติ ยกย่อง หรือสื่อไปในทางที่ดี ควรนำไปพูดกับคนเขมรซึ่งเป็นการเข้าใจส่วนตัว โดยอาจไม่รู้ความหมายที่แท้จริงสำหรับคำว่า “กัมพูชา” พจนานุกรมภาษาเขมร ได้ให้ความหมายว่า “กัมพูชา หมายถึง สุวรรณภูมิ แหล่งกำเนิดของทอง ภูมิประเทศเป็นที่เกิดของทอง เป็นชื่อเรียกประเทศเขมร” ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ฉบับปรุงปรุง ค.ศ. 2015) หมวด 1 เรื่องอธิปไตย มาตรา 3 ระบุไว้ว่า “ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นรัฐที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้” จากการระบุในมาตราดังกล่าว เห็นว่ากัมพูชาเป็นชื่อประเทศ เป็นรัฐตามเอกสารของคณะบุราณคดี งานเดียวกัน ได้กล่าวว่า “คำว่ากัมพูชา ค้นพบครั้งแรกในศิลาจารึก K.101,K.309 จารึกในศตวรรษที่ 9 และต่อมาค้นพบในศิลาจารึกปราสาท Baksey ChamKrong ที่จังหวัดเสียมเรียบจารึกในศตวรรษที่ 10 ที่เขียนเป็นบทกลอนพูดถึงฤๅษีกัมพุและนางเมรา”
ตามหลักฐาน และเอกสารอ้างอิงข้างต้น เห็นว่า “กัมพูชา” เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อประเทศเขมร คือ “ราชอาณาจักรกัมพูชา” ไม่ได้เป็นคำที่ใช้เรียกภาษา ชนชาติ คน มนุษย์ แต่อย่างใด เป็นคำที่เกิดหลังจากคำว่า “เขมร” นานถึง 2 ศตวรรษ

             จากการอธิบายข้างต้น เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างของคำว่า “เขมร” และ “กัมพูชา” ว่าทั้งสองคำนี้ เป็นชื่อประเทศเดียวกัน ไม่ใช่คนละประเทศ ซึ่งเราสามารถพูดได้ทั้ง 2 คำส่วนที่แตกต่างกันคือ “เขมร” เป็นคำที่ใช้เรียกภาษา ชนชาติ มนุษย์ ผู้คนที่อยู่ในประเทศกัมพูชา คือ “ภาษาเขมร ชนชาติเขมร มนุษย์เขมร” เป็นต้น เป็นคำที่มีความหมายสุภาพ ไม่ได้เป็นคำดูถูกดูแคลน เหยียดยาม หรือไม่ให้เกียรติอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่อย่างใด ส่วนคำว่า “กัมพูชา” ก็เป็นคำที่มีความหมายดี หมายถึงชื่อประเทศ ฉะนั้น เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “เขมร” โดยไม่ต้องเกรงใจ หรือกลัวว่าเป็นการดูถูก ไม่ให้เกียรติ เป็นคำไม่ดี เพราะเป็นคำที่เก่าแก่ที่คนเขมรเองนิยมใช้ และภูมิใจในตัวเองกับการใช้คำนี้มากที่สุด ขอให้เข้าใจว่าไม่มี “ภาษากัมพูชา” บนโลกใบนี้ มีแต่ “ภาษาเขมร” เท่านั้น ส่วนผู้ที่เคยพูดว่า “ภาษากัมพูชา” ขอให้ท่านทำความเข้าใจใหม่เพื่อนำไปใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นผลดีต่อการติดต่อพูดคุยกันของตัวท่านเอง เข้าใจอยู่ว่าเป็นความเคยชิ้นที่เคยเข้าใจและใช้มานาน เป็นเรื่องที่ยากมากในการเปลี่ยนความเข้าใจนั้นในเวลาอันรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำความเข้าใจกันอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

(Writer : Sut Sorin)

3 ความคิดเห็น:

  1. เหลือ อีกไม่กี่วัน ดูข้างหลังให้ด้วย อย่าให้ใครมาแทง
    ปนะมาณนี้

    ตอบลบ
  2. วัน2ผมเอาเรื่อง
    เข้าใจ

    ตอบลบ

ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...