วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความหมายการจุดธูปของชาวเขมร


ถึงแม้ว่าประเทศเขมรกับประเทศไทยมีวัฒนธรรมหลายอย่างที่เหมือนกันและคล้ายกัน โดยมีการยึดถือปฏิบัติด้วยกันมาเป็นเวลาช้านาน แต่จากการศึกษาค้นคว้า มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ “การจุดธูป” ซึ่งทั้งประชาชนของสองประเทศนี้ได้ปฏิบัติเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกันเป็นอย่างมาก โดยขอนำเสนอการจุดธูปของเขมร ซึ่งมีความหมายดังนี้
- การจุดธูป 1 ดอด ระลึกคุณของครูบาอาจารย์ และตนเอง
- การจุดธูป 2 ดอก ระลึกพระคุณบิดามารดา
- การจุดธูป 3 ดอก บูชาพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือบิดามารดา และครูบาอาจารย์
- การจุดธูป 4 ดอก บูชาธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- การจุดธูป 5 ดอก บูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์
- การจุดธูป 7 ดอก บูชาญาติทั้ง 7 คือ ระดับบนตนเองมี 3 คือ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ปู่ทวดตาทวด ย่าทวดยายทวด และระดับใต้ตนเองมี 3 คือ ลูกหลาน หลวนทวด และตนเอง รวมเป็น 7
- การจุดธูป 9 ดอก บูชาเทพผู้ดูแลปกปักรักษาทิศทั้ง 9 คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศบน
- การจุดธูป 11 ดอก หมายถึงเมตาธรรมทั้ง 11
- การจุดธูป 12 ดอก บูชาพระคุณของมารดา
- การจุดธูป 19 ดอก สำหรับพิธีเรียกขวัญ
- การจุดธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของบิดา
- การจุดธูป 33 ดอก บูชาพระคุณของบิดาและมารดา














(Sut Sorin)

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

รูปปั้นช้างเหยียบเสือ และเสือเหยียบช้างที่จังหวัดกำปงธม

       สำหรับท่านที่เคยเดินทางไปกรุงพมเปญโดยรถยนต์จากจังหวัดเสียมเรียบ ท่านต้องผ่านจังหวัดกำปงธม และเห็นรูปปั้นนี้อย่างแน่นอน 
รูปปั้นช้างเหยียบเสือ และเสือขี่ช้าง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดกำปงธม รูปปั่นนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในช่วง ค.ศ.1965 (2508) จากเอกสารที่เจอได้บอกว่า การสร้างรูปปั่นนี้ขึ้นมา มีความหมาย 2 อย่างคือ :
      1.ด้านภูมิศาสตร์ : จังหวัดกำปงธม เป็นจังหวัดเก่าแก่ เคยเป็นเมืองหลวงสมัยเจินละ และเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ (ปัจจุบันใหญ่อันดับสองของประเทศ) มาถึง ค.ศ.1962 (2505) จังหวัดนี้มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า และอื่นๆ อีกมาก ฉะนั้น การสร้างรูปปั่นนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดนี้
      2.ด้านความเชื่อ: ความเชื่อดังกล่าวคือจากเรื่องรามเกียรติของพราหมณ์ มีช่วงหนึ่ง กรุงยักษ์ทศกัณฐ์ได้ส่งลูกชายชื่อ อินทชิต ยกทัพไปตีเอานางสีดาจากพระราม อินทชิตและกำลังพลก็ยกทัพไปเป็นจำนวนมาก ส่วนพระราม พระลักษณ์ มีแค่หนุมาน กับลิงเท่านั้นที่เป็นผู้คุมกัน ในการสู้รบกันครั้งนั้น กำลังผลของพวกยักษ์ได้รับความผ่ายแพ้ มียักษ์ตายในสนามรบเป็นจำนวนมาก อินทชิต เห็นท่าไม่ดี ก็แปลงร่างเป็นช้างเอราวัณ ตัวใหญ่เหมือนลงมาจากโลกของพระพรหม พร้อมขบวนแหเป็นจำนวนมาก เพื่อทำให้คู่ศัตรูกลัว แต่ว่าหนุมานรู้ว่าช้างนั้นเป็นอินทชิตที่แปลงร่างมา ตนเองก็เลยแปลงร่างเช่นกันกับลิงอีกตัวหนึ่งให้เป็นเสือตัวใหญ่ เพื่อจะไปรบกับช้างยักษ์ ก่อนไปหนุมานได้บอกกับพระรามว่า ถ้าเห็นตนเองกำลังสู้รับการช้างอยู่ ขอให้พระองค์ยิงธนูฆ่าช้างนั้นด้วย (เมื่อก่อนมีรูปปั้นพระรามยิงธนูด้วย)
ช้างยักษ์ไม่รู้เลยว่า เสือตัวนั้นเป็นหนุมาน ก็เอาขาเหยียบให้ตายไปเลย แต่หนุมานเอาขาตนเองยันขาของช้างไว้ได้ ทำให้ช้างเสียความทรงตัว เสืออีกตัวหนึ่งก็โดดขึ้นขี่หลังช้างกัดช้างร้องสนั่นเต็มป่า...รูปนี้ก็บ่งบอก แสดงความดี ความชั่วด้วยครับ




รูปปั้นช้างเหบียบเสือ และเสือเหยียบช้าง ที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกำปงธม

Writer : Sut Sorin

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ทำไมปราสาทที่สร้างในยุคพระบาทชัยวรมันที่ 7 มีครุฑอยู่กับพญานาค

            ถ้าเราไปเที่ยวปราสาทที่สร้างในยุคพระบาทชัยวรมันที่ 7 เราจะเห็นการแกะสลักครุฑกับพญานาคอยู่ด้วยกัน คือสัตว์สองตัวนี้ เป็นศัตรูกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร (ตามเทพนิยายของพราหมณ์) จากการสอบถามผู้รู้ ได้คำตอบ ดังนี้ 1. พระบาทชัยรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนามหายาน (นาค-นาคมุจลินท์ นาคปรก) แต่ว่ายังมีราษฏรส่วนหนึ่งที่นับถือพราหมณ์ (ครุฑ) พระองค์อยากให้อาณาประชาราษฎร์ของพระองค์จะนับถือศาสนาใดก็ตาม ไม่มีความคัดแย้ง อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข จึงแกะสลักพญานาคกับครุฑอยู่ด้วยกัน 2. สาเหตุที่ครุฑอยู่บนพญานาค เพราะว่าศาสนาพราหมณ์ (ครุฑ) เป็นศาสนาเก่าแก่มากในเขมร (หลังศาสนาผี) มาก่อนพุทธศาสนา ความคิดความเชื่อของศาสนานี้ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวเขมรทั่วไป ส่วนศาสนาพุทธเพิ่งเข้ามาประเทศเขมรในพุทธศตวรรษที่ 3 อีกอย่าง ในพุทธศาสนาเองก็มีความเชื่อของพรามหณ์ผสมอยู่บ้าง ฉะนั้นต้องให้เกียรติพราหมณ์เขา จึงให้ครุฑอยู่บนพญานาคตามที่เห็นกัน (เรื่องราวเกี่ยวกับครุฑและพญานาค เอกสารเขมรและไทยพูดต่างกันหลายจุด)


รูปแกะสลักครุฑกับพญานาค ณ ปราสาบายน ในเมืองพระนครธม จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา


(Writer : Sut Sorin)

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

บายศรีในความเชื่อของเขมร

      บายศรี เป็นประเพณีความเชื่อของชาวเขมรล้วนๆ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่มีแค่ 5 ชั้น แต่มีหลายแบบคือ 3,5,7 และ 9 บายศรี 5 ชั้น หมายถึง แม่ (กำเนิดของชาวเขมร เกิดจากแม่ นับถือแม่เป็นใหญ่) พ่อ ปู่ตา พระ และเจ้า (พวกเทพ) โดยคำว่า "บาย" ภาษาเขมรแปลว่า ข้าว (สุก) (ข้าวสุก-->ข้าวเปลือก--> พระเม หมายถึงแม่ และคำว่า ศรี-->สิริ --> เสร็ย (ผู้หญิง) หมายถึงสูงส่ง) และต้นกล้วยที่นำมาใช้ ต้องเป็นต้นกล้วยน้ำว้า เพราะมีน้ำเยอะ (น้ำ-->พระแม่คงคา) และอีกอย่างหนึ่ง เลข 5 เป็นเลขที่ใหญ่ที่สุดของเขมร (ถ้าใครเคยอ่านหนังสือ "ภาษาเขมรพื้นฐาน" ของผม ตรงการนับเลข จะเห็นว่า ผมตัดตรง 5) (ยอดปราสาทนครวัด) และแทนให้นิ้วมือคนเราด้วย... ผมเคยอ่านเจอเมื่อเดือนก่อน หนังสือเล่มใดไม่รู้เขาบอกว่า หมายถึง "น้ำ ดิน ลม ไฟ และวิญญาณ"


(Writer : Sut Sorin)

ข้าวต้มและขนมเทียนในความเชื่อของเขมร

ข้าวต้มมัด หรือภาษาเขมรเรียกว่า នំអន្សម (นม อ็อน ซอม) และขนมเทียน หรือภาษาเขมรเรียกว่า នំគម (นม โกม)​ เป็นขนมที่มีเกือบทุกงานประเพณีของเขมร โดยเฉพาะงานแต่ง ซึ่งต้องมีแน่นอน เพราะอะไร ทำไมงานแต่งงานต้องมีขนมสองอย่างนี้?
...ตามหนังสือ "วัฒนธรรมอินเดีย เขมร" ได้กล่าวไว้สั้นๆ ว่า "ข้าวต้มมัต หมายถึง ศิวลึงค์ (เพศชาย) และขนมเทียน หมายถึง โยนีนางอุมา (เพศหญิง)" ฉะนั้นแล้ว​ ในงานแต่งงาน ขนมอย่างนี้ต้องมีอย่างแน่นอน​ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่า "เป็นการสร้างโลก" นั้นเอง
ข้าวต้มมัด

ขนมเทียน

(Writer : Sut Sorin)


ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...