วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

บายศรีในความเชื่อของเขมร

      บายศรี เป็นประเพณีความเชื่อของชาวเขมรล้วนๆ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่มีแค่ 5 ชั้น แต่มีหลายแบบคือ 3,5,7 และ 9 บายศรี 5 ชั้น หมายถึง แม่ (กำเนิดของชาวเขมร เกิดจากแม่ นับถือแม่เป็นใหญ่) พ่อ ปู่ตา พระ และเจ้า (พวกเทพ) โดยคำว่า "บาย" ภาษาเขมรแปลว่า ข้าว (สุก) (ข้าวสุก-->ข้าวเปลือก--> พระเม หมายถึงแม่ และคำว่า ศรี-->สิริ --> เสร็ย (ผู้หญิง) หมายถึงสูงส่ง) และต้นกล้วยที่นำมาใช้ ต้องเป็นต้นกล้วยน้ำว้า เพราะมีน้ำเยอะ (น้ำ-->พระแม่คงคา) และอีกอย่างหนึ่ง เลข 5 เป็นเลขที่ใหญ่ที่สุดของเขมร (ถ้าใครเคยอ่านหนังสือ "ภาษาเขมรพื้นฐาน" ของผม ตรงการนับเลข จะเห็นว่า ผมตัดตรง 5) (ยอดปราสาทนครวัด) และแทนให้นิ้วมือคนเราด้วย... ผมเคยอ่านเจอเมื่อเดือนก่อน หนังสือเล่มใดไม่รู้เขาบอกว่า หมายถึง "น้ำ ดิน ลม ไฟ และวิญญาณ"


(Writer : Sut Sorin)

ข้าวต้มและขนมเทียนในความเชื่อของเขมร

ข้าวต้มมัด หรือภาษาเขมรเรียกว่า នំអន្សម (นม อ็อน ซอม) และขนมเทียน หรือภาษาเขมรเรียกว่า នំគម (นม โกม)​ เป็นขนมที่มีเกือบทุกงานประเพณีของเขมร โดยเฉพาะงานแต่ง ซึ่งต้องมีแน่นอน เพราะอะไร ทำไมงานแต่งงานต้องมีขนมสองอย่างนี้?
...ตามหนังสือ "วัฒนธรรมอินเดีย เขมร" ได้กล่าวไว้สั้นๆ ว่า "ข้าวต้มมัต หมายถึง ศิวลึงค์ (เพศชาย) และขนมเทียน หมายถึง โยนีนางอุมา (เพศหญิง)" ฉะนั้นแล้ว​ ในงานแต่งงาน ขนมอย่างนี้ต้องมีอย่างแน่นอน​ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่า "เป็นการสร้างโลก" นั้นเอง
ข้าวต้มมัด

ขนมเทียน

(Writer : Sut Sorin)


ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...