วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

สิ่งมหัศจรรย์ของกัมพูชา

ประเทศกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนสถานที่และการละเล่นต่างๆ เป็นมรดกโลก ดังนี้
        - ปราสาทนครวัด ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1992


        - การเต้นระบำหลวง (ราชทรัพย์- Khmer Royal Dance) วันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ.2003


        - หนังตาลุง ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.2005


        - ปราสาทเขาพระวิหาร ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.2008


        - คุกตวลแสลง ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ.2009

        - เรื่องรามเกียรติครุฑ ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ.2014


        - ชักกะเยอ ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.2015


        - จาเป็ยด้ามยาว ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016



        - กลุ่มปราสาทสมโบร์เปร็ยกุก ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.2017


(Writer : Sut Sorin)

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ข้อมูลทั่วไปของประเทศกัมพูชา

ชื่อทางการ: ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ภาษาราชการ: ภาษาเขมร(Khmer)
สัญชาติ/ชนชาติ: เขมร (Khmer)
อักษรย่อ: KH
สกุลเงิน: เรียล(Riel) 100 เรียล เท่ากับ 1 บาทไทย
พื้นที่: 181,035km2
ดอกไม้ประจำชาติ: ดอกลำดวน
ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่ตอนกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี  ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และประเทศลาว (แขวงอัตตะปือ  และจำปาสัก)  ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน  ลองอาน  ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยเป็นระยะทาง 798 กิโลเมตร
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติคือศาสนาพุทธ
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
วันที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน : วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
การแบ่งเขตการปกครอง : ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครอง
ออกเป็น 21 จังหวัด และ 4 เทศบาล หรือ 25 จังหวัด  ได้แก่
          1. บ่อนเตียยเมียนเจ๊ย / Banteay Meanchey      
          2. บัดด่อมบอง / Battambang
          3. ก่อมปงจาม / Kampong Cham                  
          4. ก่อมปงฉนัง / Kampong Chhnang
          5. ก่อมปงสปือ / Kampong Speu                  
          6. ก่อมปงธม / Kampong Thom
          7. ก่อมโปด / Kampot                      
          8. ก่อนดาล / Kandal
          9. เกาะกง / Koh Kong                     
          10. แกบ / Kep *
          11. กรอแจะ / Kratié                        
          12. มนดลกีรี / Mondulkiri
          13. อดดอเมียนเจ๊ย / Oddar Meancheay          
          14. ไปเล็น / Pailin*
          15. พนมเปญ / Phnom Penh*   
          16. กรงเปียะสีหนุ / Sihanoukville *
          17. เปรียะวิเหียร์ / Preah Vihear                   
          18. โปสัต / Pursat
          19. เปร๊ยเวง / Prey Veng                 
          20. รัตนะกีรี / Ratanakiri
          21. เสียมเรียบ / Siem Reap              
          22. สตึงแตรง / Stung Treng
          23. สวายเรียง / Svay Rieng              
          24. ตาแก้ว / Takéo
          25. ตโบงขมุม/Tbong Khmum
สภาพภูมิอากาศ: ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย
           20 - 36 องศาเซลเซียส
เพลงชาติ: เพลงนครราช (Nokoreach)
วันชาติกัมพูชา: 9 พฤศจิกายน  ซึ่งเป็นวันได้รับเอกราชจาก
      ฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1953 (1863-1953)
เวลา : เท่ากับประเทศไทย หรือก่อนเวลา  GMT (+ 7 ชั่วโมง)



(Writer : Sut Sorin)

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

เพลงชาติของกัมพูชา-เขมร

      เพลงชาติของกัมพูชา-เขมร ชื่อว่า "เพลงนครราช" แปลว่า "กษัตริย์แห่งนคร" ได้เริ่มแต่งขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทศรีสวัสดิ์ ช่วง ค.ศ.1938 โดยผู้ที่ริเริ่มแต่งขึ้นคือพระบาท นโรดม สุรามฤต พระบิดาของพระบาท นโรดมสีหนุ กับชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งที่เป็นครูสอนเพลงในราชวัง แต่ไม่สามารถหาคำที่ตรงกับเพลงนี้ได้
         จนถึงรัชกาลของพระบาท นโรดม สีหนุ เพลงได้แต่งขึ้นใหม่โดยสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี พระสังฆราช จวน นาถ สังฆนายกคณะมหานิกาย เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1941 
       ปล. ประเทศกัมพูชาเคารพธงชาติ ตอนเช้าเวลา 07.00 น. ส่วนช่วงเย็นเวลา 17.00 น. 


(Writer : Sut Sorin)

ชื่อ นามสกุลและการสืบสกุล

        การตั้งชื่อและนามสกุลในประเทศกัมพูชา ต้องเอานามสกุลขึ้นก่อน และตามด้วยชื่อ เช่น นายสุข สำราญ คำว่า “สุข” เป็นนามสกุล และคำว่า “สำราญ” เป็นชื่อ ส่วนการสืบนามสกุลในกัมพูชาจะต่างจากไทยอย่างสิ้นเชิง คำที่เป็นนามสกุลของแต่ละคน เป็นชื่อของปู หรือในบางครั้ง เป็นชื่อของพ่อ แล้วนำมาเป็นนามสกุลของลูก เช่น นายสุข สำราญ คำว่า “สุข” อาจเป็นชื่อของปู หรือชื่อของพ่อของ “สำราญ” ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการผู้ตั้งชื่อและชาวเขมรหลายคนค่อนข้างซีเรียสกับการเรียกชื่อ และนามสกุลผิด เช่นเรียกนามสกุลว่าเป็นชื่อ และเรียกชื่อว่าเป็นนามสกุล อีกอย่าง สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี ถึงแม้ว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้วก็ตาม 

(Writer : Sut Sorin)

ศาสนาในกัมพูชา

       พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นศาสนาประจำชาติของประเทศกัมพูชา ศาสนานี้ได้เข้ามาในประเทศเขมรเป็นเวลานานมาแล้ว แต่ที่เริ่มมีบัญญัติในรัฐธรรมนูญคือ ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 (พ.ศ.2490) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่จัดทำขึ้นในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส ให้เป็นศาสนาของรัฐ ต่อมาได้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1969 (พ.ศ.2502) ศาสนาพุทธก็ยังเป็นศาสนาของรัฐเหมือนเดิม แล้วรัฐธรรมนูญ สาธารณรัฐเขมร ค.ศ. 1970-1975 (พ.ศ.2513-2518) ศาสนาพุทธก็ยังเป็นศาสนาสำหรับรัฐ ส่วนรัฐธรรมนูญในยุคกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) ค.ศ. 1975-1979 (พ.ศ.2518-2522) ไม่มีการบัญญัติศาสนาศาสนาประจำชาติ โดยให้เสรีภาพประชาชนในการนับถือความเชื่อ ศาสนาใดก็ได้ หรือไม่นับถือความเชื่อ ศาสนาใดก็ได้ ที่ไม่ให้นับถือนับศาสนาที่เป็นปฏิปักษ์ ทำลายระบอบกัมพูชาประชาธิบไตย ส่วนสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ค.ศ. 1979-1989 (พ.ศ.2522-2532) ยังไม่มีการบัญญัติศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญเช่นกัน โดยรัฐให้เสรีภาพทางความเชื่อ ทางศาสนาศาสนาที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติอย่างเด็ดขาด จนถึงรัฐธรรมนูญฉบับรัฐกัมพูชา ค.ศ. 1989-1993 (พ.ศ.2532-2536) ที่มีลักษณะคล้ายกันกับรัฐธรรมนูญยุคสาธารณะรัฐประชาชาชนกัมพูชา ได้มีการแก้ไขบางมาตรา โดยบัญญัติให้ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของรัฐ แล้วมาถึงรัฐธรรมนูญยุคราชอาณาจักรกัมพูชา ค.ศ 1993 - ปัจจุบัน (พ.ศ.2536-ปัจจุบัน) พระพุทธศาสนาก็ได้บัญญัติให้เป็นศาสนาของรัฐตลอดมา
        นอกจากศาสนาพุทธแล้ว ยังมีศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิลาม เป็นต้น 


(Writer : Sut Sorin)

สกุลเงินตรา

        กัมพูชามีสกุลเงินเป็นของตัวเองคือ “เงินเรียล (Riel)” มีตัวย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “KHR” หมายถึง “Khmer Riel” โดยเป็นธนบัตร เริ่มต้นที่ 100 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาทไทย ส่วนเงินเหรียญได้เลิกใช้ไปนานแล้ว นอกจากเงินเรียบแล้ว ยังมีสกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากในกัมพูชาคือ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 4,000 เรียล และยังมีเงินสกุลอื่นๆ ที่สามารถนำไปแลกใช้ได้ในเมืองใหญ่ๆ เช่น เงินยูโร เงินบาท เป็นต้น 



(Writer : Sut Sorin)

ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...