วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การเรียกชาวต่างชาติของชาวเขมร

สำหรับชาวเขมร การเรียกชาวต่างชาติมีหลายแบบ เช่น
- ถ้าคนเอเซียนเดียวกันจะเรียกตามชื่อ เช่น คนจีน คนอินเดีย คนไทย คนเวียดนาม คนลาว เป็นต้น
- ถ้าเป็นคนจากตะวันออก (ยุโรป) ที่ไม่ทราบว่ามาจากประเทศไหน จะเรียกว่า អឺរ៉ុប (เออ-รบ) หมายถึง ยุโรป แต่ยังมีบางคน โดยเฉพาะคนแก่ คนมีอายุ ยังมีการเรียกว่า បារាំង (บารัง) อยู่บาง
*** แต่ถ้าชาวฝรั่งเศส เขมรจะเรียกแบบเต็มคือ បារាំង(บารัง) และคำนี้ ถ้าใช้ในการเขียน จะหมายถึง ฝรั่งเศสเพียงอย่างเดียว
- ถ้าเป็นพวกโลกตะวันตก โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ เขมรจะเรียกว่า អាមេរិក, អាមេរិច (อาเมเร็ก,อาเมเร็จ) หมายถึง สหรัฐฯ แต่เมื่อก่อนจะมีอีกคำที่เรียกพวกสหรัฐฯ คือคำว่า អាគាំង (อาเกียง) แต่เป็นภาษาพูด (เหมือนคนไทยเรียกคนอเมริกาว่า “ไอ้กัน”) ปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว นอกจากใช้เรียกพวกตะวันตก โดยเฉพาะพวกสหรัฐฯ แล้ว ยังเป็นคำที่ใช้เรียกเด็กชายที่ทำงานรับใช้ฤๅษีในอาศรม พบเจอในวรรณคดีโบราณ หรือเป็นคำเรียกเด็กลูกวัดในบางที
- ถ้าเป็นพวกผิวดำ จากทวีปอาฟริกา หรือจากไหนก็แล้วที่ผิวดำ เขมรจะเรียกว่า អាហ្វ្រិក,អាព្រិច (อาฟริก หรืออาปริจ) คือ อาฟริกา หรือนิโกร นั้นเอง


วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นาคในความเชื่อของเขมร-กัมพูชา

           ถ้าเราไปเที่ยวในประเทศกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน ศาสนสถาน หรือสถานที่หลายแห่ง เราจะพบสัญลักษณ์หนึ่งเป็นประจำ นั้นก็คือ “นาค” ที่มีการแกะสลักไว้หลายแห่ง เกี่ยวกับนาค ในประเทศกัมพูชาจะแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
1. นาคในศาสนาพราหมณ์
- นาค 3 หัว (นคกัลป์ยะ) แทนสภาวะเลวร้าย ในเรื่องมหาภารตะ
- นาค 6 หัว (นาคอานนท์) เป็นเตียงนอนของพระนารายณ์
- นาค 9 หัว (นาควาสุกรี) เป็นนาคของพวกเทพ และอสุระที่นำมาเป็นเชือกเพื่อเกษียรสมุทร
2. นาคในศาสนาพุทธ
ในศาสนาพุทธมีนาค 7 หัว (นาคมุจลินท์) ที่ปรกปกป้องพระพุทธเจ้าจากฝน ลม แดด เมื่อตอนที่พระองค์ทำสมาธิ ส่วนนาคหัวเดียว ส่วนใหญ่เป็นนาคที่ใช้ในการตกแต่งเครื่องประดับต่างๆ
3. นาคในวัฒนธรรมเขมร
- นาคหัวเดียว แทน ปฐมกษัตริย์ (พระนางลีวยี หรือนางนาค)
- นาค 3 หัว แทนพันธะ 3 ประการ (สามี/ภรรยา ตนเอง ลูก)
- นาค 5 หัว แทน ปัญจขันธ์ หรือเบ็ญจขันธ์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
- นาค 7 หัว แทน วันทั้ง 7 วัน ในหนึ่งสัปดาห์
- นาค 9 หัว แทน โลกุตรธรรม (มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1)




(Writer : Sut Sorin)

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อุทยานแห่งชาติในกัมพูชา


          นับมาถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 ประเทศกัมพูชามีอุทยานแห่งชาติจำนวน 12 แห่ง คือ
1. อุทยานแห่งชาติพระสุรามะริตกุสุมะคีรีรมย์  เป็นอุทยานที่จัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศกัมพูชา อยู่ในจังหวัดกำปงสปือ และจังหวัดเกากง มีพื้นที่ 3, 5000 เฮกตาร์ ห่างจากกรุงพนมเปญ 112 กิโลเมตร อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 8 หมื่นเฮกตาร์ ภูเขาคีรีรมย์มีความสูง 700 เมตร


2. อุทยานแห่งชาติบอตุมสาโก อยู่ในจังหวัดเกาะกง มีพื้นที่ 171,250 เฮกตาร์ เป็นแหล่งธรรมชาติ และที่อยู่ของสัตว์ป่า และสัตว์น้ำทุกชนิค นอกจากนี้ยังมีไม้ผล และชายหาดสวยงามกว้างใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนที่ได้รับความนิยมของคนทั่วไป อุทยาแห่งนี้ได้จัดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวัน 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993


3. อุทยานแห่งชาติมุนีวงศ์โบกโก สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1922 อยู่ในจังหวัดกำโปด มีพื้นที่ 140,000 เฮกตาร์ ห่างจากตัวจังหวัดกำโปดประมาณ 42 กิโลเมตร บนยอดภูเขาที่มีความสูงถึง 1,075 เมตร มีคาสิโนที่สร้างขึ้นในสมัยอาณานิคมฝรั่งเศสเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีน้ำตก ธรรมชาติสวยงาม


4. อุทยานแห่งชาติแกบ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 อยู่ในจังหวัดแกบ มีพื้นที่ 5,000 เฮกตาร์ ห่างจากอำเภอเมืองกำโปดประมาณ 25 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญ 173 กิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ


5. อุทยานแห่งชาติพระสีหนุราม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 อยู่ในจังหวัดพระสีหนุ มีพื้นที่ 150,000 เฮกตาร์ ห่างจากตัวอำเภอเมืองพระสีหนุประมาณ 18 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 194 กิโลเมตร


6. อุทยานแห่งชาติกุเลน จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1993 อยู่ในจังหวัดเสียมเรียบ มีพื้นที่ 37,500 เฮกตาร์ ห่างจากตัวอำเภอเมืองเสียมเรียบ 53 กิโลเมตร มีความสูง 492 เมตร พนมกุเลนเป็นอดีตเมืองหลวงเขมร เป็นยุคเริ่มต้นสมัยพระนครที่รุ่งเรือง


7. อุทยาแห่งชาตวิระชัย อยู่จังหวัดสตึงแตรง และจังหวัดรัตนคีรี มีพื้นที่ 332,500 เฮกตาร์ เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าหลายชนิคในประเทศกัมพูชา และเป็นเขตป่าไม้หลายชนิดเช่นกัน


8. อุทยานแห่งชาติ ฤเส็ยเตริ่บ จัดตั้งเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.2014 อยู่ในจังหวัดพระวิหาร มีพื้นที่ 11, 435 เฮกตาร์ เป็นอุทยานแห่งชาติเชิงโบราณคดี ประวัตศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติ

9. อุทยานแห่งชาติโอยาดาว จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 อยู่ในจังหวัดรัตนคีรี มีพื้นที่ 101, 344 เฮกตาร์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การค้นหา วิทยาศาสตร์และความเชื่อ


10. อุทยานแห่งชาติเทือกเขากรอวาญทิศใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 อยู่ในจังหวัดเกาะกง จังหวัดโปสัต จังหวัดกำปงสปือ และจังหวัดพระสีหนุ มีพื้นที่ 410, 392 เฮกตาร์ การสร้างอุทยานแห่งนี้เพื่ออนุรักษ์ทรัยากรธรรมชาติผสม ทรัพยากรวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยว การศึกษา ค้นคว้า วิทยาศาสตร์และความเชื่อ

11. อุทยานแห่งชาติเทือกเขากรอวาญกลาง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 อยู่จังหวัดเกาะกง จังหวัดโปสัต และจังหวัดกำปงสปือ มีพื้นที่ 401, 313 เฮกตาร์ การสร้างอุทยานแห่งนี้เพื่ออนุรักษ์ทรัยากรธรรมชาติผสม ทรัพยากรวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยว การศึกษา ค้นคว้า วิทยาศาสตร์และความเชื่อ



12. อุทยานแห่งชาติเวินไส-เสียมปาง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 อยู่ในจังหวัดสตึงแตรงและจังหวัดรัตนคีรี มีพื้นที่ 57, 469 เฮกตาร์ การสร้างอุทยานแห่งนี้เพื่ออนุรักษ์ทรัยากรธรรมชาติผสม ทรัพยากรวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยว การศึกษา ค้นคว้า วิทยาศาสตร์และความเชื่อ

ปล. ภาพประกอบบางภาพ เป็นแค่ภาพตัวอย่างเท่านั้น
(Writer : Sut Sorin)

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สาเหตุโรงเรียนที่ประเทศกัมพูชาต้องเรียนสองช่วง

                  ระบบการศึกษาของประเทศกัมพูชา เป็นระบบ 6-3-3 เหมือนกับหลายประเทศในอาเซียน รัฐบาลของกัมพูชาให้ความสำคัญเกี่ยวกับจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยการเรียนการสอนระดับขั้นพื้นฐานในประเทศกัมพูชา เรียนสัปดาห์ละ 6 วัน คือวันจันท์ถึงวันเสาร์ มีวันหยุดวันเดียวคือวันอาทิตย์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ฉบับปรับปรุงค.ศ.2015) มาตรา 65 ระบุไว้ว่า “รัฐต้องปกป้อง และส่งเสริมให้พลเมืองได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ และต้องจัดมาตรการทุกอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้พลเมืองทุกคนได้เข้าถึงการศึกษานั้นรัฐต้องเอาใจใส่ด้านการศึกษาและการกีฬาเพื่อให้พลเมืองทุกคนมีสุขภาพที่ดี” ส่วน มาตรา 68 ระบุไว้ว่า “รัฐมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนของรัฐสำหรับพลเมืองทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พลเมืองต้องได้รับการศึกษาอย่างน้อยเก้าปีรัฐช่วยเผยแพร่และส่งเสริมโรงเรียนภาษาบาลีและการศึกษาด้านพุทธศาสนา”
              จากการระบุดังกล่าว เห็นว่ารัฐให้ความสำคัญและได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมหลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของชาติ โดยให้พลเมืองเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และต้องเรียนในการศึกษาภาคบังคับน้อย 9 ปี คือจบการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการทำงาน โดยมีการจัดการเรียนการสอนเป็นสองภาคเรียนคือภาคเรียนที่ 1 วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี และภาคเรียนที่ 2 วันที่ 20 เมษายน – วันที่ 30 กรกฎาคม ของทุกปี
               ถึงแม้ว่า รัฐได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษามากแค่ไหน แต่ปัญหาต่างๆ ยังคงมีอยู่ให้เห็น สำหรับผู้ที่เดินทางไปประเทศกัมพูชา จะเห็นว่าเด็กนักเรียนของประเทศกัมพูชาจะเรียนแค่ครึ่งวันไม่ว่าโรงเรียนนั้นอยู่ในเขตเมือง หรือเขตชนบท คือเรียนช่วงเช้า และช่วงบ่าย โดยนักเรียนที่เรียนสองช่วงนี้ เป็นนักเรียนคนละกลุ่มกัน คือนักเรียนที่เรียนช่วงเช้า จะไม่เรียนช่วงบ่าย ส่วนนักเรียนที่เรียนช่วงบ่าย จะไม่เรียนช่วงเช้า แต่นักเรียนทั้งสองกลุ่มนี้จะสลับช่วงเรียนกันเดือนละครั้งขึ้นอยู่กับการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษานั้นซึ่งแตกต่างประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนทั้งวัน จึงเกิดคำถามว่า ทำไมโรงเรียนที่ประเทศกัมพูชาจึงต้องจัดการเรียนการสอนเป็นช่วง สาเหตุที่โรงเรียนในประเทศกัมพูชาต้องสอนสองเวลาคือ
        1. ปัจจัยด้านงบประมาณและบุคลากร
 1.1 ปัจจัยด้านงบประมาณ  งบประมาณที่จ่ายเป็นเงินเดือนของข้าราชการครูและข้าราชการ
กระทรวงอื่นๆ ของกัมพูชาอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางเงินเดือนครูประถมประมาณ 540,000 เรียล หรือประมาณ 49,00 บาทไทย ครูมัธยมประมาณ 830,000 เรียล หรือประมาณ 7,500 บาทไทย และรัฐบาลจะเพิ่มให้ปีละ 20ขึ้นอยู่กับขั้นเงินเดือน ประสบการณ์การสอนและจำนวนบุตรในครอบครัว ซึ่งเงินเดือนที่เป็นค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าว ไม่สามารถทำให้อาชีพครู เป็นอาชีพที่คนส่วนมากอยากจะเป็น แต่เป็นอาชีพที่คนส่วนหนึ่งที่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่ามักไม่อยากเป็นครู หรือมาเป็นครูเพื่อมองโอกาสในการทำงานอย่างอื่น เช่นงานเอกชน เป็นต้นเพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าว รัฐจึงมีนโยบายให้ครูสอนอีกครึ่งวันพร้อมรับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม ถึงแม้ว่าไม่สามารถทำให้ความเป็นอยู่ของครูอยู่ในระดับที่ดี แต่ก็อยู่ในระดับที่พอรับได้ และครูอีกส่วนหนึ่งที่มีอาชีพเสริมอย่างอื่น สามารถไปงานนั้นได้หลังจากหมดเวลาทำงานแล้ว
   1.2   ปัจจัยด้านบุคลากร  เกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยด้านงบประมาณที่มีน้อย เป็นสาเหตุทำให้
บุคลากรทางการศึกษา หรือครูที่ปฏิบัติหน้าสอนในโรงเรียนต่างๆ มีจำนวนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในเขตชนบทที่บางโรงเรียนมีครูผู้สอนสองหรือสามคน นักศึกษาครูที่เพิ่งจบมาใหม่เคยใช้ชีวิตในเมืองไม่ที่มีความสะดวกสบายหลายอย่าง พวกเขาไม่ยากไปสอนในที่ทุรกันดาร และครูที่ไปสอน นอกจากอาชีพสอนหนังสือแล้วไม่มีอาชีพเสริมอื่นที่เป็นรายได้ในแต่ละวันแทนเงินเดือนได้ นอกจากเงินสวัสดิการ หรือเงินเบี้ยกันดารที่เพิ่มกับเงินเดือนประจำสำหรับผู้ที่เสียสละไปสอน ซึ่งเงินสวัสดิการเหล่านี้อาจไม่ได้เบิกเป็นรายเดือน บางครั้งเบิกเป็นรายภาคเรียน หรือเบิกเป็นรายปีการศึกษา ซึ่งไม่สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันได้กับการสอนของครูประถมศึกษา สัปดาห์ละ 24 ชั่วโมง และครูมัธยมศึกษา สัปดาห์ละ 19 ชั่วโมง การที่ได้สอนอีกครึ่งวันพร้อมกับการได้รับค่าตอบแทนอีกส่วนหนึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มได้รายและลดภาระการใช้จ่ายให้กับครูผู้สอนได้ไม่มากก็น้อย
          2. ปัจจัยด้านอาคารสถานที่ อาคารเรียนในประเทศกัมพูชาถือว่ายังไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการทั้งในตัวเมืองและต่างอำเภอ หน่วยงานของรัฐพยายามสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และมีองค์กรนอกรัฐบาล เช่น Asia Development Bank (ADB), World Bank เป็นต้น และผู้มีจิตศรัทธาทั้งในและนอกประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมาตลอด แต่ด้วยความขาดแคลนที่มีมาก จึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจำเป็นต้องแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่เรียนภาเช้า และกลุ่มที่เรียนภาคบ่าย ถึงแม้ว่าการแบ่งเป็นกลุ่มสามารถลดปัญหาการขาดห้องเรียนได้ระดับหนึ่งก็ตาม แต่สำหรับโรงเรียนที่อยู่ในเขตชนบทหลายโรงเรียนยังมีปัญหาอยู่
         3. ปัจจัยด้านความเป็นอยู่ของผู้ปกครอง ผู้ปกครองนักเรียน โดยเฉพาะในต่างอำเภอหรือในเขตชนบท ส่วนมากยังมีความเป็นอยู่ปานกลางหรือลำบาก มีส่วนน้อยที่มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองมักอยากให้ลูกช่วยงานบ้านแทนตัวเองในบางเรื่อง เช่นถ้าในชนบท ผู้ปกครองให้ลูกช่วยดูแลบ้าน ทำงานบ้านรดน้ำผัก เลี้ยงสัตว์ ดูแลน้อง และอื่นๆ ส่วนผู้ปกครองที่อยู่ในเมืองส่วนมากมีอาชีพค้าขาย จะให้ลูกช่วยเปิดร้าน ดูแลร้านเฝ้าบ้าน หรือทำงานอื่นๆ แทนตัวเองเสมอ ฉะนั้น การที่โรงเรียนสอนแค่ครึ่งวัน การมีลูกอยู่บ้านช่วยงานต่างๆ ได้ครึ่งวันไม่ว่าช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายถือว่ายังดี สามารดช่วยงานและลดภาระของผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง
           จากปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จึงทำให้โรงเรียนต่างๆ ในประเทศกัมพูชาต้องเรียนอยู่สองช่วง เพื่อลดปัญหา และผลกระทบต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษา หวังว่า ปัญหาเหล่านั้นจะได้รับการแก้ไขที่ดีขึ้นจนสามารถทำให้การศึกษาของประเทศนี้มีความพร้อมในทุกด้านต่อไป

(Writer : Sut Sorin)

รูปแบบการจัดศึกษาในราชอาณาจักรกัมพูชา


                 การจัดการศึกษาในกัมพูชานั้น เป็นการจัดศึกษาแบบซ้ำชั้นโดยใช้ระบบเปอร์เซ็นต์ (Percent) ที่กำหนดขึ้นในแต่ละปีไม่เหมือนกัน การจัดการศึกษานี้ถูกกำหนดขึ้นจากรัฐบาลในการกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬา (Ministry of Education, Youth and Sport) โดยมีการแบ่งการดำเนินการและรับผิดชอบ เป็น 3 ระดับ โดยกระทรวงนี้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายระดับชาติ และจัดทำหลักสูตรแกนกลางสำหรับการศึกษาของชาติ ส่วนวิทยาลัยเทคนิคและการศึกษาสายอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนั้นขึ้นอยู่กับการรับผิดชอบของเจ้ากระทรวงนั้นๆ (กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน ฯลฯ) ระดับต่อมา คือ ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ
             สำหรับระบบการศึกษาโดยทั่วไปในกัมพูชา  เป็นระบบ 6 / 3 / 3 ปี จำแนกเป็น ระดับประถมศึกษา (ชั้น 1-6) จำนวน 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้น 7-9) จำนวน 3 ปี และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้น 10,11 และ12) จำนวน 3 ปี ดังมีรายละเอียดดังนี้
                   1. ระดับประถมศึกษา (ชั้น 1-6) จำนวน 6 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ให้แก่นักเรียน เช่น ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน เพื่อให้นักเรียนตระหนักและธำรงไว้ซึ่งคุณค่าของศิลปะและการแสดง และเพื่อให้โอกาสนักเรียนได้พัฒนา ความสนใจและความเข้าใจในจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ
                   2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้น 7-9) จำนวน 3 ปี  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงของศิลปะเขมร คุณค่าของความงาม/สุนทรียศาสตร์ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการแสดงเพิ่มขึ้น มีความสนใจกิจกรรมทางด้านศิลปะเพื่อการแสดงเห็นคุณค่าของจารีตประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่า ทางด้านสุนทรียศาสตร์  การธำรงไว้ซึ่งคุณค่าเหล่านั้น รวมทั้งให้การสนับสนุนการแสดงออกทางด้านศิลปะการแสดงต่างๆ และเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีความสนใจในศิลปะความงาม /สุนทรียศาสตร์และมรดกทางด้านวัฒนธรรม
                   3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้น 10,11 และ 12) จำนวน 3 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนตระหนักในทฤษฎีพื้นฐาน ทางด้านศิลปะและการทำงานทางด้านศิลปะ เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าที่แท้จริงและความสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้นักเรียนมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้นักเรียนมีความระมัดระวังและธำรงไว้ซึ่งความรักในงานศิลปะการแสดงออกความรู้สึกที่ดีในงานศิลปะต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีความรัก รู้จักป้องกันและพัฒนาศิลปะประจำชาติ และเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติที่ดีต่อศิลปะประจำชาติและศิลปะนานาชาติ
                  ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนระดับก่อนประถมศึกษา และอนุบาลที่รับเด็กอายุ  3-5  ปี ซึ่งมีเฉพาะบางพื้นที่ เช่นในเมืองเท่านั้น ในการเรียนนักเรียนต้องเรียนระดับประถมศึกษาจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6  และเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในระดับชั้น 7 ถึง 9 จากนั้นต้องสอบให้ผ่านการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเสียก่อนจึงจะสามารถเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในชั้น10 ถึง 12 หลังจากจบชั้น 12 แล้วจะมีการสอบประมวลวิชาเพื่อรับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  ซึ่งเรียกว่า บักดุบ” (Bac Dup) ซึ่งในการสอบนี้ ข้อสอบเป็นของศูนย์กลาง (กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬา) ที่จัดการสอบพร้อมกันทั่วประเทศในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี นักเรียนที่สอบไม่ผ่านตามเปอร์เซ็นต์ (Percent) ที่ศูนย์กลางกำหนดขึ้นในปีนั้น ต้องเรียนซ้ำชั้นอีกหนึ่ง หรือสามารถลงทะเบียนไว้กับโรงเรียนแล้วไม่ต้องมาเรียนก็ได้ แต่ต้องมาสอบกลางภาค ปลายภาคและสอบประมวลวิชาตามกำหนด เนื่องจากว่า หลายปีที่ผ่านมา ประเทศกัมพูชาขาดแคลนครูจำนวนมาก รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬาได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สอบไม่ผ่านชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น ได้สมัครสอบเรียนครู ที่วิทยาลัยครูเพื่อเป็นครูประถมต่อไป ส่วนนักเรียนที่สอบผ่านการสอบประมวลวิชานั้น สามารถสอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยครูเพื่อเรียนเป็นครูประถม ครูมัธยม หรือสมัครเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ เมื่อก่อนหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ต้องมีการสอบประมวลวิชาแล้วต้องไปทำการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง แต่ปัจจุบันผู้เรียนสามารถนำคะแนนจากการสอบประมวลวิชา เพื่อคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆได้เลย เช่น The  University  of  Health  Sciences,  The  Royal  University  of  Fine  Arts,  The  Institute of  Technology,  The  Faculty  of  Law  and  Economic  Sciences,  The  Royal  University  of Agriculture, The Royal  University  of  Phnom  Penh,  The  National  Institute  of  Management,  The  Maharishi  Vedic  University and The  Faculty of Pedagogy. นอกจากที่กล่าวมาแล้วกัมพูชายังมีมหาวิทยาลัยเอกชนเกิดขึ้นมากมาย แต่ปัญหาที่พบสำหรับการศึกษาเอกชน คือ รัฐบาลยังไม่สามารถรับรองมาตรฐานการศึกษาเอกชนได้
รูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ราชอาณาจักรกัมพูชา 



(Writer : Sut Sorin)





ประวัติการศึกษาในประเทศกัมพูชา


           การศึกษาในประเทศกัมพูชามีอายุยาวนานเท่ากับอายุของประเทศนี้ ในยุคแรก เราไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่ามีลักษณะแบบใด เราเริ่มศึกษาจากหลักฐานที่เป็นศิลาจารึกตามปราสาทต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ในยุคพระนคร ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ฉะนั้น เราทำความเข้าใจคราวๆ เกี่ยวกับประวัติการศึกษาของเขมรตั้งแต่ยุคพระนครจนถึงยุคปัจจุบันกัน โดยจำแหนกตามยุคตามยุค ดังนี้
             1. ยุคพระนคร: ยุคพระนคร เริ่มจากปีคริสต์ศักราช 802 ถึง ปีคริสต์ศักราช 1431 เป็นยุคที่เขมรมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด การศึกษาในช่วงแรกของยุคนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเท่าใดนัก แต่ในช่วงกลางของยุคนี้ เราเห็นมีหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนคือมีจัดการเรียนการสอนในปราสาท อย่างที่เราเห็นหลายปราสาทจะมีห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บตำราและเอกสารที่ใช้ในการศึกษา โดยมีพราหมณ์บุโรหิตเป็นผู้สอน และผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นคนในวัง นอกจากนี้ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เรียนอยู่ในศาสนาสถาน โดยมีบรรพชิตเป็นผู้สอน วิชาที่สอนในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของศาสนา การทำศึกสงคราม การสู้รบ การปกครองความเชื่อ ไสยศาสตร์ ในยุคนี้ ปราสาทและศาสนสถานเป็นเขตอภัยทาน
              2. ยุคอาณานิคมฝรั่งเศส : ฝรั่งเศสได้ปกครองกัมพูชาเป็นเวลา 90 ปี (ค.ศ. 1863 – ค.ศ.1953) แต่ช่วงที่มีผลต่อการศึกษาของเขมรคือ ค.ศ. 1863-1945 โดยสถานศึกษาของเขมรในยุคนั้นแบ่งออกเป็น2 ประเภท คือสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยฝรั่งเศส เรียกว่าโรงเรียนฝรั่งเศส – เขมร หรือการศึกษาทางการ มีสอนวิชาต่างๆ เกี่ยวกับการคำนวณ วิทยาศาสตร์ และวิชาอื่นๆ ซึ่งเป็นวิชาของโลกตะวันตกโดยการศึกษาในโรงเรียนประเภทนี้ มีดังนี้ 1. โรงเรียนประจำตำบล 2. โรงเรียนประถมศึกษาชั้นแรก 3. โรงเรียนประถมศึกษาเพิ่มเติมวิชา 4. โรงเรียนประถมศึกษาชั้นสูงและมัธยมศึกษาฝรั่งเศส – ภาษาต่างประเทศ มีประถมศึกษาชั้นสูงด้านครุศาสตร์ และมัธยมศึกษาทุติยภูมิ 5.อุดมศึกษา 6. อาชีวศึกษา มีโรงเรียนเทคนิคและการอาชีพ โรงเรียนศิลปะเขมร 7. โรงเรียนเอกชน มี โรงเรียนเอกชนสอนภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนภาษาฝรั่งเศสและภาษาต่างประเทศ โรงเรียนภาษาถิ่น และโรงเรียนภาษาต่างประเทศ ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือ สถานศึกษาประเพณีปรับปรุงใหม่ (โรงเรียนวัด) เป็นสถานศึกษาตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากยุคก่อนๆ โรงเรียนประเภทนี้ มีการจัดตั้งโรงเรียนปฏิบัติ โรงเรียนปฏิบัติชั้นสูง และมีบุคลากรปฏิบัติงานการศึกษาประเพณีปรับปรุงใหม่
            ในปีค.ศ. 1935 มีครูผู้สอนเป็นคฤหัสถ์ส่วนหนึ่งได้เข้ามาทำงานในโรงเรียนประเพณีปรับปรุงใหม่ด้วย พร้อมกันนี้ พระมหากษัตริย์ ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้แทนพระองค์ 1 คนเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นศึกษานิเทศก์ในการตรวจสอบ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประเพณีปรับปรุงใหม่ (โรงเรียนวัด) และศึกษานิเทศก์คนดังกล่าวได้แต่งตั้งผู้ช่วยอีกหนึ่งคนเพื่อช่วยงาน
             กระทรวงศึกษาของเขมรในยุคนี้ บริหารโดยชาวฝรั่งเศสหนึ่งคน และผู้บริหารคนดังกล่าวต้องขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงชาวฝรั่งเศสอีกคน ส่วนการศึกษาต้องปฏิบัติตามคำสั่งจากผู้กำกับการศึกษาของรัฐอีกคนหนึ่งที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ส่วนในจังหวัดใหญ่ๆ ของเขมร มีชาวฝรั่งเศสหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นผู้กำกับโรงเรียนประถมศึกษา แต่ละปีผู้กำกับคนดังกล่าวจะเดินทางไปตรวจโรงเรียนฝรั่งเศส-เขมรระดับประถมชั้นต้นตามอำเภอต่างๆ ส่วนโรงเรียนประเพณีปรับปรุงใหม่ (โรงเรียนวัด) ผู้กำกับคนนี้จะไม่มีสิทธิไปตรวจสอบได้ เพราะว่า โรงเรียนเหล่านั้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้แทนพระมหากษัตริย์
             3. ยุคปี ค.ศ.1945 – 1975: เป็นยุคปลายๆ ของอาณานิคมฝรั่งเศสจนถึงยุคการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสาธารณรัฐเขมร (ค.ศ.1970-1975) โดยในปี ค.ศ. 1947 ได้จัดให้มีสำนักงานขึ้นมา 2 สำนักงาน คือ สำนักงานกำกับดูแลโรงเรียนของวัด และสำนักงานกำกับดูแลโรงเรียนฝรั่งเศส – เขมร จนถึงปี ค.ศ. 1949 สำนักงานทั้งสองได้รวมกันเป็นสำนักงานเดียว และปี ค.ศ. 1969 -1970 เป็นช่วงปลายๆ ของยุคสังคมราษฎรนินมของพระบาท นโรดม สีหนุ การศึกษาขั้นพื้นฐานของเขมรมี 13 ปี และที่แปลกคือ เขานับจากปีที่ 12 ลงมา เช่น ถ้าเราเริ่มเรียนปีแรก เขาเรียกว่า “ชั้นปีที่ 12” แล้วเรียงลงมาเรื่อยๆ การศึกษายุคนี้แบ่งเป็น ประถมศึกษา มี 6 ปี (ปีที่ 12 – ปีที่ 7) มัธยมศึกษาตอนต้น มี 4 ปี (ปีที่ 6- ปีที่ 3) และวิทยาลัย หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 3 ปี (ปีที่ 2 ปีที่ 1 และปีสุดท้าย)
             4. ยุคปี ค.ศ. 1979 – ปัจจุบัน :( สังเกตเห็นว่า ไม่มีข้อมูลจากปี ค.ศ. 1975 -979 เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่เขมรแดงปกครองประเทศ ทุกอย่างเท่ากับศูนย์) ยุคนี้การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ
                  4.1 ช่วงที่หนึ่ง:ค.ศ. 1979 – 1987 ยุคนี้ระบบการศึกษาความรู้ทั่วไป (การศึกษาขั้นพื้นฐาน) มีระยะเวลา 10 ปี โดยระดับประถมมี 4 ปี คือ ปีที่ 1-ปีที่ 4 มัธยมศึกษาตอนต้นมี 3 ปี คือปีที่ 5-ปีที่ 7 มัธยมศึกษาตอนปลายมี 3 ปี คือ ปีที่ 8-ปีที่ 10
                  4.2 ช่วงที่สอง: ค.ศ. 1987 – 1994 ยุคนี้ระบบการศึกษาความรู้ทั่วไป (การศึกษาขั้นพื้นฐาน) มีระยะเวลา 11 ปี โดยระดับประถมศึกษามี 5 ปี คือ ปีที่ 1-ปีที่ 5 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมี 3 ปี (ปีที่ 6-ปีที่ 8) และระดับวิทยาลัยหรือมัธยมศึกษาตอนปลายมี 3 ปีคือ ปีที่ 9-ปีที่ 11
               4.3 ช่วงที่สาม : ค.ศ.1994 – ปัจจุบัน ระบบการศึกษายุคนี้มีระยะเวลา 12 ปี (6+3+3)  ระดับประถมศึกษามี 6 ปีคือ ปีที่ 1-ปีที่ 6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมี 3 ปี คือ ปีที่ 7-ปีที่ 9 มัธยมศึกษาตอนปลายมี 3 ปี คือ ปีที่ 10- ปีที่ 12​​​ ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ ค.ศ.1994 กระทรวงศึกษาธิการเขมรได้จัดให้มีศึกษานิเทศก์ขึ้นเพื่อประเมินโรงเรียนต่างๆ ในประเทศ
                      เห็นได้ว่า การศึกษาของเขมรได้มีการปรับเปลี่ยนตามยุคตามสมัย ตามระบบการปกครอง ตามความต้องการของสังคมด้วยและตามความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลก 



(Writer : Sut Sorin)

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พุทธศักราชของกัมพูชาและไทย

          ถึงแม้ว่าประเทศกัมพูชากับประเทศไทยมีวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ศาสนาที่เหมือนกันและคล้ายกันเป็นอย่างมากก็ตาม แต่มีเรื่องหนึ่งที่กัมพูชาและไทยยึดถือปฏิบัติต่างกันคือ “ปี” โดย
         1. ประเทศกัมพูชาจะยึดและนิยมปีคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ส่วนปีพุทธศักราชมีใช้อยู่บ้าง แต่ส่วนน้อย อีกอย่าง การเปลี่ยนปีพุทธศักราชของกัมพูชาก็ต่างจากไทย คือกัมพูชาเปลี่ยนปีพุทธศักราชในวันที่ 13-14 เมษายน เป็นวันปีใหม่เขมร ซึ่งเป็นสงกรานต์ นั้นเอง
        2. ประเทศไทยจะยึดตามปีพุทธศักราช (พ.ศ.) ส่วนปีคริสต์ศักราชจะใช้ต่อเมื่อเป็นเอกสารหรือหนังสือที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ ส่วนการเปลี่ยนปีพุทธศักราชของไทยก็ต่างจากกัมพูชา คือไทยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งตรงกับวันที่เปลี่ยนปีคริสต์ศักราช นั้นเอง

           ฉะนั้น เห็นได้ว่า ทั้งกัมพูชาและไทย ต่างนับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน แต่กำหนดวันเปลี่ยนพุทธศักราชต่างกันกว่าครึ่งปี 


(Writer : Sut Sorin)

เขมรกับกัมพูชาเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

          ถึงแม้ว่าประเทศไทยกับกัมพูชา เป็นประเทศที่มีพื้นที่ติดกัน เคยมีประวัติในการติดต่อสื่อสาร ไปมาหากันเป็นเวลายาวนาน และมีประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และอื่นๆ ที่เหมือนกันบ้างและคล้ายกันบ้างก็ตาม แต่ก็ยังมีความเข้าใจบางเรื่องที่คลาดเคลื่อนอยู่ หนึ่งในนั้นคือการเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “เขมร และกัมพูชา” ยังคงเป็นคำที่มีคนจำนวนไม่น้อยสงสัยระหว่างคำนี้ว่า เป็นคำที่มีความหมายเดียวกันไหม เหมือนกันไหม ต่างกันไหม ถ้าเหมือนกัน แล้วเหมือนกันยังไง หรือถ้าต่างกัน แล้วต่างกันอย่างไร สำหรับหลายคนเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับความหมาย และอีกหลายคนยังเข้าใจไปอีกแบบที่แตกต่างกัน มีทั้งคิดและเข้าใจว่า เขมรกับกัมพูชา เป็นคนละประเทศ คนละภาษากัน ที่มากกว่านั้นยังเข้าใจว่า “เขมร” เป็นคำที่สื่อความหมายในทางที่ไม่ดี เป็นการดูถูกดูแคลน ไม่เหมาะสม เหยียดยาม ไม่ควรนำมาพูดและเข้าใจว่า “กัมพูชา” เป็นคำที่มีความหายดี ให้เกียรติ ยกย่อง เป็นต้น ซึ่งการเข้าใจเหล่านี้เป็นการเข้าใจส่วนตัว เพื่อให้รู้ว่าความหมายของสองคำนี้เป็นอย่างไร เรามาดูความหมาย เกี่ยวกับทั้งสองคำนี้ว่า มีความหมายอย่างไร เหมือนกันหรือแตกกันอย่างไรครับ
             1. เขมร:ออกเสียงตามภาษาเขมรคือ “ขะแมร์ หรือ คแมร์”เนื่องจากว่าในภาษาเขมร เมื่อ“ร” เป็นตัวสะกดจะไม่ออกเสียง เป็นภาษาอังกฤษคือ “Khmer” เป็นคำที่คนไทยส่วนหนึ่งเข้าใจว่าเป็นคำมีความหมายไม่ดี ไม่สุภาพ เป็นคำที่สื่อไปในทางดูถูก เหยียดยาม ไม่ให้เกียรติ ไม่ควรนำมาพูดกับคนเขมร เกรงว่าจะทำให้เขาเสียใจ เสียความรู้สึกหรืออื่นๆ ที่เข้าใจว่าไม่ดี การเข้าใจแบบนี้เป็นการเข้าใจส่วนตัว โดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง สำหรับคำว่า “เขมร” พจนานุกรมภาษาเขมร ได้ให้ความหมายว่า “เขมร มาจากคำว่า เขมระ หมายถึง ผู้ที่มีความเกษมสุข” ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา“ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2015” หมวด 1 เรื่องอธิปไตย มาตรา 5 ระบุไว้ว่า “ภาษา และอักษรที่ใช้เป็นทางการคือ ภาษาและอักษรเขมร” อีกอย่าง ตามเอกสารของคณะบุราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ของกัมพูชา ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.2016 เรื่อง “หลักฐานเกี่ยวกับคำว่า เขมร และกัมพูชา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน”ได้ระบุว่า “เขมรเป็นคำที่ค้นพบครั้งแรกในศิลาจารึกK.11 จารึกในศตวรรษที่ 7 คำนี้ใช้เรียกมนุษย์ ภาษา ชาติ ของเขมร เช่นมนุษย์เขมร คนเขมร ภาษาเขมร ชาติเขมร ส่วนประเทศ ดินแดน เรียกว่า “กัมพูชา” หรือ “เขมร” ก็ได้” สำหรับสัญชาติ และเชื่อชาติ ถึงแม้ว่าไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่บนบัตรประจำตัวประชาชนเขมร เขียนว่า “บัตรประจำตัวประชาชนเขมร Khmer Identity Card” นั้นก็หมายถึง สัญชาติ และเชื่อชาติ ก็เป็น “เขมร” เช่นกัน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อย่อของประเทศนี้ก็ใช้ตัวย่อ KH เช่น KHR (Khmer Riel) หมายถึงสกุลเงินของเขมร คือเงินเรียล โดย KH ย่อมาจากคำว่า “Khmer”นั้นเอง
            จากหลักฐาน และเอกสารอ้างอิงข้างต้น สรุปได้ว่า “เขมร” เป็นคำที่ใช้เรียก “คน ภาษา ชนชาติ สัญชาติ” ของคนที่อยู่ในประเทศกัมพูชา หรือเขมร คำนี้ไม่ได้มีความหมายหยาบคาย ดูถูกดูแคลน ไม่ให้เกียรติ หรือสื่อไปในทางที่ไม่ดีแต่อย่างใด แต่เป็นคำเก่าแก่ที่คนเขมรมีความภาคภูมิใจนิยมใช้มากที่สุด มากกว่าคำว่า “กัมพูชา”ด้วยซ้ำ
            2. กัมพูชา: กัมพูชา อ่านเป็นภาษาเขมรว่า “กัมปุเจีย” ภาษาอังกฤษคือ “Cambodia” เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อประเทศเขมร ตามชื่อทางการคือ “ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingdom of Cambodia” เป็นคำที่คนไทยส่วนหนึ่งเข้าใจว่าเป็นคำที่มีความหมายดี สุภาพ ให้เกียรติ ยกย่อง หรือสื่อไปในทางที่ดี ควรนำไปพูดกับคนเขมรซึ่งเป็นการเข้าใจส่วนตัว โดยอาจไม่รู้ความหมายที่แท้จริงสำหรับคำว่า “กัมพูชา” พจนานุกรมภาษาเขมร ได้ให้ความหมายว่า “กัมพูชา หมายถึง สุวรรณภูมิ แหล่งกำเนิดของทอง ภูมิประเทศเป็นที่เกิดของทอง เป็นชื่อเรียกประเทศเขมร” ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ฉบับปรุงปรุง ค.ศ. 2015) หมวด 1 เรื่องอธิปไตย มาตรา 3 ระบุไว้ว่า “ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นรัฐที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้” จากการระบุในมาตราดังกล่าว เห็นว่ากัมพูชาเป็นชื่อประเทศ เป็นรัฐตามเอกสารของคณะบุราณคดี งานเดียวกัน ได้กล่าวว่า “คำว่ากัมพูชา ค้นพบครั้งแรกในศิลาจารึก K.101,K.309 จารึกในศตวรรษที่ 9 และต่อมาค้นพบในศิลาจารึกปราสาท Baksey ChamKrong ที่จังหวัดเสียมเรียบจารึกในศตวรรษที่ 10 ที่เขียนเป็นบทกลอนพูดถึงฤๅษีกัมพุและนางเมรา”
ตามหลักฐาน และเอกสารอ้างอิงข้างต้น เห็นว่า “กัมพูชา” เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อประเทศเขมร คือ “ราชอาณาจักรกัมพูชา” ไม่ได้เป็นคำที่ใช้เรียกภาษา ชนชาติ คน มนุษย์ แต่อย่างใด เป็นคำที่เกิดหลังจากคำว่า “เขมร” นานถึง 2 ศตวรรษ

             จากการอธิบายข้างต้น เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างของคำว่า “เขมร” และ “กัมพูชา” ว่าทั้งสองคำนี้ เป็นชื่อประเทศเดียวกัน ไม่ใช่คนละประเทศ ซึ่งเราสามารถพูดได้ทั้ง 2 คำส่วนที่แตกต่างกันคือ “เขมร” เป็นคำที่ใช้เรียกภาษา ชนชาติ มนุษย์ ผู้คนที่อยู่ในประเทศกัมพูชา คือ “ภาษาเขมร ชนชาติเขมร มนุษย์เขมร” เป็นต้น เป็นคำที่มีความหมายสุภาพ ไม่ได้เป็นคำดูถูกดูแคลน เหยียดยาม หรือไม่ให้เกียรติอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่อย่างใด ส่วนคำว่า “กัมพูชา” ก็เป็นคำที่มีความหมายดี หมายถึงชื่อประเทศ ฉะนั้น เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “เขมร” โดยไม่ต้องเกรงใจ หรือกลัวว่าเป็นการดูถูก ไม่ให้เกียรติ เป็นคำไม่ดี เพราะเป็นคำที่เก่าแก่ที่คนเขมรเองนิยมใช้ และภูมิใจในตัวเองกับการใช้คำนี้มากที่สุด ขอให้เข้าใจว่าไม่มี “ภาษากัมพูชา” บนโลกใบนี้ มีแต่ “ภาษาเขมร” เท่านั้น ส่วนผู้ที่เคยพูดว่า “ภาษากัมพูชา” ขอให้ท่านทำความเข้าใจใหม่เพื่อนำไปใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นผลดีต่อการติดต่อพูดคุยกันของตัวท่านเอง เข้าใจอยู่ว่าเป็นความเคยชิ้นที่เคยเข้าใจและใช้มานาน เป็นเรื่องที่ยากมากในการเปลี่ยนความเข้าใจนั้นในเวลาอันรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำความเข้าใจกันอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

(Writer : Sut Sorin)

ประวัติอนุสาวรีย์ "ดาบเหล็กกำปงสวาย" จังหวัดกำปงธม

          ถ้าเรานั่งรถผ่านจังหวัดกำปงธม เราจะเห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้อยู่ เรียกว่า "ดาวแดกกำปงสวาย" หมายถึง "ดาบเหล็กกำปงสวาย&qu...